วันอาทิตย์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2558

"ละเมอ" เกิดจากอะไร

"ละเมอ" เกิดจากอะไร


SHAREDER

เชื่อว่าหลายๆท่านส่วนใหญ่เกิดมาคงเคยละเมอกัน (มากน้อยก็ว่ากันไป) ซึ่งการละเมอนี้ก็จะมีหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นนอนอยู่แล้วลุกขึ้นมาเดินไปนู่นนี่ แล้วทำกิจกรรมอะไรบางอย่าง บางทีเวลาเขียนหนังสือ แล้วสัพหงกไป ตื่นมาอีกที เอ้า กุเขียนอะไรลงไปวะเนี่ย หรือเวลาคุยกับคนอื่นอยู่แล้วเผลอหลับไป ก็ดันพูดอะไรใส่อีกฝั่งก็ไม่รู้  แต่ท่านเคยสงสัยหรือไม่ว่า ทำไมท่านถึงละเมอกัน แล้วละเมอมาจากไหน ไปดูกันเลยคร้าบบ


การละเมอ มีศัพท์ภาษาอังกฤษทางการแพทย์เท่ๆว่า Somnambulism โดยคำนิยามของอาการละเมอนี้เค้าบอกเอาไว้ว่า เป็นการนอนที่ผิดปกติ มีการเคลื่อนไหว พฤติกรรม อารมณ์ การตอบรับ การตอบรับขณะหลับ (Parasomnias) แต่ก่อนที่จะไปเจาะลึกถึงเรื่องละเมอ เรามาทำความรู้จักเกี่ยวกับการหลับของคนเราก่อน



การนอนหลับของเราๆท่านๆทั้งหลายเนี่ยนะครับ แบ่งเป็น 2 อย่างคือ หลับตื้น(Rapid Eye Movement) กับ หลับลึก(Non-Rapid Eye Movement) 

ช่วงที่หลับตื้นนี้ จะเกิดขึ้นหลังจาก เราเริ่มนอนหลับไปได้ประมาณ 70-90 นาที อัตราการเต้นของหัวใจและการหายใจจะเหมือนคนที่ตื่นคือ เต้นเร็ว อวัยวะเพศท่านชายทั้งหลายจะมีการแข็งตัว และความฝันคนเราจะเกิดตอนช่วงนี้นี่แหละ หากถูกปลุกในช่วงนี้ เราจะสามารถจำความฝันได้

หลังจากผ่านช่วงหลับตื้นมาแล้ว ก็จะเข้าสู่ช่วงหลับลึก ซึ่งหลับลึกเนี่ยก็แบ่งออกได้เป็น 4 ระยะด้วยกัน ซึ่งมี

ระยะที่ 1 light sleep: ระยะนี้เราจะอยู่ในอาการครึ่งหลับครึ่งตื่น ปลุกง่าย ในระยะการหลับช่วงนี้ อาจจะมีอาการกระตุกของกล้ามเนื้อที่เรียกว่า hypnic myoclonia มักจะตามหลังอาการเหมือนตกจากที่สูง ตาในระยะนี้จะเคลื่อนไหวกลอกไปมาช้าๆ 

ระยะที่ 2 True sleep: ระยะนี้ ตาจะหยุดเคลื่อนไหว คลื่นไฟฟ้าสมองเป็นแบบ rapid waves เรียก sleep spindles (sleep spindles เป็นคลื่นสมองรูปแบบหนึ่ง มีช่วงระยะเวลาการเกิดอย่างน้อยที่สุดคือ 0.5 วินาที ซึ่งช่วงเวลานี้ อัตราการเต้นของหัวใจและการหายใจจะช้าลง


ระยะที่ 3 Slow Wave Sleep period: ระยะนี้ คลื่นไฟฟ้าสมองมีลักษณะเป็น Delta wave หรือ คลื่นไฟฟ้าจากสมองเราจะค่อยๆเกิดช้าลง ไม่เหมือนกับระยะที่ 2 ที่เกิดถี่ๆ หรือภาษาชาวบ้านก็คือ กำลังจะหลับลึก

ระยะที่ 4 Deep sleep: ชื่อก็บอกตรงๆแล้วว่าหลับลึก ซึ่งระยะที่ 3 กับ 4 นี้จะปลุกตื่นยากมาก คลื่นไฟฟ้าจากสมองเราจะเป็นแบบ Delta wave ทั้งหมด ตาและร่างกายจะไม่เคลื่อนไหว หากถูกปลุกที่ระยะนี้จะ

กลับมาเข้าเรื่องละเมอกันต่อ อาการละเมอนี้นะครับจะอยู่ในช่วง 1/3 ของการนอน ( ถ้าท่านนอนตั้งแต่หัวค่ำก็จะเกิดระหว่าง 5 ทุ่ม ถึงตี 1) ซึ่งเป็นช่วงการหลับลึก และในช่วงนี้ คลื่นไฟฟ้าสมองจะมีพลังงานสูงแล้วทำงานร่วมไปด้วย เมื่อระดับคลื่นไฟฟ้าสมองอยู่ในช่วง 20-50% การนอนก็จะเข้าสู่ระยะที่ 3 แต่เมื่อคลื่นไฟฟ้าสมองสูงถึง 50% หรือมากกว่าก็จะเข้าสู่ ระยะที่ 4 ของการนอนหลับ 

โดยปกติแล้ว การนอนละเมอจะเกิดขึ้นคืนละครั้ง โดยคลื่นไฟฟ้าสมองในมนุษย์จะมีความถี่ระหว่าง 1-4 Hz สามารถตรวจวัดได้ด้วยเครื่อง electroencephalogram ซึ่งคลื่นไฟฟ้าสมองดังกล่าวนี้จะทำงานร่วมกับการหลับลึก (Slow wave sleep) คลื่นไฟฟ้าสมองนี้จะถูกสร้างมาจากสมองส่วน Thalamus ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการหลับการตื่นของสิ่งมีชีวิต

ที่ลูกศรสีแดงชี้อยู่คือ สมองส่วน Thalamus 

สาเหตุของการนอนละเมอ
นักวิชาการหลายคนได้ศึกษาและตั้งทฤษฏีของการนอนละเมอไว้ว่า การละเมอเนี่ยมันมีพัฒนาการมาจากเด็กที่มีความล่าช้าในการเจริญเติบโต เช่น ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ, พันธุกรรม, พักผ่อนน้อย, ไม่ค่อยออกกำลังกาย, การทำงานของต่อมไร้ท่อผิดปกติ ฯลฯ ในคนที่นอนละเมอจะมีคลื่นไฟฟ้าสมอง (delta wave) ที่สูงมากเมื่อมีอายุ 17 ปี ช่วงระยะเวลานี้จะมาจากการพัฒนาอย่างไม่สมบูรณ์ของระบบประสาทซึ่งเป็นสาเหตุของการนอนละเมอ 

การนอนละเมอมักจะพบในครอบครัวที่มีสมาชิกนอนละเมอ โดยเด็กจะมีโอกาสนอนละเมอเพิ่มขึ้น 45% ถ้ามีพ่อหรือแม่นอนละเมอ แต่ถ้าทั้งพ่อและแม่นอนละเมอ โอกาสนอนละเมอของเด็กก็จะเพิ่มขึ้น 60% อย่างไรก็ตามไม่มีการรายงานว่าการนอนละเมอจะเกิดกับผู้หญิงหรือผู้ชายมากกว่ากัน ดังนั้นปัจจัยการถ่ายทอดทางพันธุกรรมกับการนอนละเมอมีความเกี่ยวข้องกัน และมีผลมาจากปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมอื่นๆ เช่น ความเครียด เสียงดัง การดื่มสุรา อาการไข้ การหมดสติ ความเหนื่อย เป็นต้น

ส่วนการละเมอพูดตอนนอน เราเรียกว่า Somniloquy เกิดขึ้นในช่วงรอยต่อของการหลับลึก เนื่องจากเป็นช่วงที่กล้ามเนื้อเคลื่อนไหวไม่ราบรื่น อาจเกิดการสั่นสะเทือนของกล่องเสียง คำพูดที่พูดออกมาจะฟังไม่รู้เรื่อง หรืออาจเกิดช่วงหลับตื้นเข้าหลับลึก ขณะที่ฝันว่าพูดอยู่ จะพูดออกมาเป็นเสียงที่ฟังรู้เรื่องแต่เสียงดัง 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น