วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555

หลักสูตรเตรียมสอบ TOEFL/ IELTS


หลักสูตรเตรียมสอบ TOEFL/ IELTS

           หากคุณกำลังจะไปศึกษา หรือทำงานต่อต่างประเทศ และจำเป็นที่จะต้องสอบ ข้อสอบ TOEFL/ IELTS  ทางลิงโก้ได้จัดหลักสูตรคอร์ส เตรียมสอบ TOEFL/ IELTS โดยเฉพาะ เรียนรู้เคล็ดลับ ทริป ข้อสอบ เพื่อให้คุณได้พิชิตข้อสอบ TOEFL/ IELTS ได้

ทั้งนี้ความแตกต่างระหว่าง การสอบ TOEFL/ IELTS คือ  

TOEFL (Test of English as a Foreign Language) เป็น  การทดสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษตามมาตรฐานของภาษาอังกฤษอเมริกัน  เพื่อนำไปใช้เป็นเกณฑ์ในเรื่องของการศึกษาต่อ  หรือทำงานในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร โดยผลคะแนน TOEFL  จะใช้ได้เป็นระยะเวลา ปี ซึ่งการสอบ TOEFL จะทดสอบทักษะภาษาอังกฤษทั้ง ด้าน ได้แก่ การพูด (Speaking) การฟัง  (Listening) การอ่าน (Reading) และการเขียน (Writing)  และในครั้งจะต้องผสมผสานทักษะต่าง ๆ เข้าด้วยกันเพื่อใช้ในการตอบคำถาม  โดยทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ ชั่วโมงครึ่งสำหรับการสอบ
IELTS (International English Language Testing System) คือ การวัดระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษสำหรับผู้สนใจทั่วไป  โดยเฉพาะผู้ที่ต้องการไปศึกษาต่อ หรือรับการฝึกอบรมในต่างประเทศ เช่น  สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แคนาดา สหรัฐอเมริกา  และผู้ที่มีความประสงค์จะย้ายถิ่นฐาน ไปยังประเทศออสเตรเลีย หรือนิวซีแลนด์  IELTS เป็นการทดสอบการใช้ภาษาอังกฤษทั้ง ทักษะ คือ การฟัง การพูด  การอ่าน และ การเขียน ผู้สอบจะได้รับใบรายงานผลการสอบโดยแยกเป็น  แต่ละส่วนทั้ง ทักษะ 

โดยผลคะแนน IELTS เก็บไว้ใช้ได้ ปี 

ในการสอบ IELTS ข้อสอบจะแบ่งออกเป็น แบบคือ  สำหรับผู้ที่ต้องการจะสอบเพื่อนำผลไปสมัครเรียนต่อ และ สำหรับการฝึกอบรม  ผู้เข้ารับการทดสอบทั้งสองแบบจะได้รับข้อสอบที่ใช้ในการทดสอบการฟังและ  การพูดฉบับเดียวกัน ส่วนการทดสอบการเขียนและการอ่านจะใช้ข้อสอบคนละแบบ  ซึ่งแยกตามวัตถุประสงค์ของผู้เข้ารับการทดสอบ

รูปแบบของการทดสอบแยกตามวัตถุประสงค์ของผู้เข้ารับการทดสอบ

      1. เพื่อการศึกษาต่อ (ACADEMIC modules) เพื่อเป็นการ
      ทดสอบความพร้อมในการศึกษาต่อในต่างประเทศที่ต้องใช้
      ภาษาอังกฤษ ทั้งในระดับ ปริญญาตรี และปริญญาโท

2. เพื่อการฝึกอบรม (GENERAL TRAINING modules) 
      เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการวัดความพร้อมเพื่อศึกษาต่อในระดับ
     มัธยม  การฝึกอบรมหรือ ทำงานในต่างประเทศที่ต้องใช้ภาษา
    อังกฤษ  ซึ่งโดยทั่วไปแล้วข้อสอบจะใช้วัดความรู้ภาษาอังกฤษระดับพื้นฐาน  และจะไม่ซับซ้อนเหมือนกับผู้ที่ต้องการวัด
                                                    ระดับความรู้เพื่อศึกษาต่อ  และเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการย้าย
                                     ถิ่นฐานไปยังประเทศนิวซีแลนด์ หรือ  ออสเตรเลีย




ทางสถาบัน ลิงโก้ เรามีอาจารย์ที่ได้รับการเทรนนิ่งเฉพาะด้วยเกี่ยวกับ TOEFL/ IELTS เพราะฉะนั้น เราจึงเชื่อว่าการสอบ และการวัดระดับการสอบ จะได้ผลที่น่าพอใจมากที่สุด



Course เตรียมสอบ TOEFL/ IELTS


ระยะเวลาเรียน 60 ชั่วโมง  15,000 บาท 

สอบฟรี Placement Test 1 ชั่วโมง

สอบฟรี TOEFL Diagnostic Test 2 ชั่วโมง

Course Lesson Plan

Grammar
20 hrs
Reading
15 hrs
Listening
15 hrs
Speaking
5 hrs
Writing
5 hrs








ไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้า

มีเอกสารประกอบการเรียนให้ 

เพื่อให้ผู้เรียนทุกคนและการสอบของอาจาร์ในห้องเรียนทั่วถึงจึงจำกัด

ห้องเรียนละไม่เกิน ท่าน 

เพื่อผลสอบที่ถึงเป้าหมาย และมีประสิทธิภาพ

: )

 
                                                                    Lingo Team!

Lol Cats Part 24











กลับมาแล้วค่ะกับ Lol Cats สุดน่ารัก >.<




จำเอาไว้ว่า...ลดความอ้วน...ลดความอ้วน!!!




ดาราหมดยุคละรึกความหลัง




แฟชั่นแมวสีดำ ชิ๊ค มาก เข้ากับทุกอย่าง



เตะสูง

ขอบคุณจ่ะ ช่วงนี้ฉัน ออกกำลังกายแหละ 

www.lingothailand.com


วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

ตัวอย่างภาษาอังกฤษแบบผิด ๆ ที่ฮิตติดปากคนไทย








บทความ 8 ตัวอย่างภาษาอังกฤษแบบผิด ๆ ที่ฮิตติดปากคนไทย

8 ตัวอย่างภาษาอังกฤษแบบผิด ๆ ที่ฮิตติดปากคนไทย

          1) อินเทรนด์ (in trend) คำนี้อินเทรนด์มากๆ เอ๊ย...ฮิตมากๆ ในปัจจุบัน สามารถได้ยินตามรายการวิทยุหรือโทรทัศน์ทั่วไป เพราะใช้กันทั่วบ้านทั่วเมือง เช่น เด็กสมัยนี้ถ้าจะให้อินเทรนด์ต้องตามแฟชั่นเกาหลี ซึ่งบางทีเวลาคุณต้องการพูดว่า "มันทันสมัย" คุณอาจจะติดปากว่า "It is in trend." คำว่า "ทันสมัย" ฝรั่งเค้าไม่ใช้คำว่า "in trend" อย่างคนไทยหรอกครับ เค้าจะใช้คำว่า"trendy" หรือ "fashionable" ซึ่งเป็นคำคุณศัพท์ที่คุณสามารถวางไว้หน้าคำนามที่ต้องการขยาย เช่น a trendy haircut ทรงผมที่ทันสมัย, a fashionable restaurant ร้านอาหารที่ทันสมัย หรือจะไว้หลัง verb to be เช่น It is trendy. หรือ It is fashionable. ก็ได้ 
          2) เว่อร์ (over) เช่น ใยคนนั้นทำอะไรเว่อร์ๆ She is over. ไม่มีความหมายแต่อย่างใดในภาษาอังกฤษ ฝรั่งที่ได้ยินคุณพูดเช่นนี้ คงมึนตึบ พร้อมทำสีหน้างงว่ามันหมายถึงอะไรเหรอ? พูดถึงคำนี้ คนไทยน่าจะหมายถึงการพูดเกินจริงหรือทำเกินจริง ซึ่งถ้าพูดเกินจริง ควรจะใช้คำศัพท์ที่ว่า"exaggerate" เป็นคำกิริยา อ่านว่า เอก-แซ้ก-เจ่อ-เรท เช่น

          "He said you walked 30 miles." เค้าบอกว่าคุณเดินตั้ง 30 ไมล์
          "No - he's exaggerating. It was only about 15." ไม่หรอก เค้าพูดเว่อร์ (เกินจริง) มันก็แค่ 15 ไมล์เอง

          ดังนั้น ถ้าจะบอกว่า เธอพูดเว่อร์น่ะ ก็บอกว่า You're exaggerating. หรือจะบอกเค้าว่า อย่าพูดเว่อร์ๆ น่ะ อาจใช้ว่า Don't exaggerate. ส่วนอาการเว่อร์อีกแบบคือการทำเกินจริง เราจะใช้คำกิริยาที่ว่า "overact" เช่น You're overacting. เธอทำเว่อร์เกิน (แสดงอารมณ์เกินจริง)

          3) ดูหนัง soundtrack เวลาคุณจะบอกใครว่า ฉันต้องการดูหนังฝรั่งที่พากย์ภาษาอังกฤษ อย่าพูดว่า "I want to watch a soundtrack film." แต่ควรจะใช้ว่า "I want to watch an English film." เพราะความหมายของคำว่า "soundtrack" คือ ดนตรีที่อยู่ในภาพยนตร์ ต่างหากล่ะครับ
          ถ้าเราจะพูดถึงหนังฝรั่งที่พากย์เสียงภาษาไทย เราต้องบอกว่า "I want to watch an English film that is dubbed into Thai." เพราะคำกิริยาว่า "dub" คือพากย์เสียงจากต้นแบบในหนังหรือรายการโทรทัศน์ไปเป็นภาษาอื่น
          ส่วนหนังที่มีคำบรรยายใต้ภาพเราเรียกว่า "a subtitled film" ซึ่งคำบรรยายที่อยู่ใต้ภาพ เราเรียกว่า "subtitles" (ต้องมี s ต่อท้ายเสมอนะครับ) เช่น a French film with English subtitles หนังฝรั่งเศสที่มีคำบรรยายใต้ภาพเป็นภาษาอังกฤษ

          หนังบางเรื่องจะมีคำบรรยายใต้ภาพเป็นภาษาเดียวกับที่นักแสดงพูด เรามีศัพท์เรียกเฉพาะว่า"closed-captioned films" หรือ อาจเขียนย่อๆ ว่า "CC" เช่น You should watch a closed-captioned film to improve your English. คุณควรจะดูหนังฝรั่งที่มีคำบรรยายภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาภาษาอังกฤษของคุณ

          4) นักศึกษาปี 1 คนไทยมักเรียกว่า "freshy" ซึ่งฝรั่งไม่รู้เรื่องหรอกครับ เพราะไม่มีการบัญญัติศัพท์คำนี้ในภาษาอังกฤษ เค้าจะใช้คำว่า "fresher" หรือ "freshman" (นิยมใช้"freshman" มากกว่า) เช่น He is a fresher. หรือ He is a freshman. หรือ He is a first-year student. เขาเป็นนักศึกษาปี 1 ส่วนปีอื่นๆ คนไทยเรียกถูกแล้วครับ คือ ปี 2 เราเรียก a sophomore, ปี 3 เรียกว่า a junior และ ปี 4 เรียกว่า a senior

          5) อัดหรือบันทึก คนไทยมักพูดทับศัพท์ว่า เร็คคอร์ด (record) คำๆ นี้สามารถเป็นได้ทั้งคำนามและคำกิริยา เพียงแค่เปลี่ยนตำแหน่ง stress กล่าวคือ ถ้าจะใช้เป็นคำนามที่แปลว่า แผ่นเสียงหรือสถิติ ให้ขึ้นเสียงสูงที่พยางค์แรก คือ "เร็ค-คอร์ด" เช่น He wants to buy a record. เขาต้องการซื้อแผ่นเสียง, I broke my own record. ฉันทำลายสถิติของฉันเอง แต่ถ้าคุณจะหมายถึงคำกิริยาที่แปลว่า อัดหรือบันทึก ต้อง stress พยางค์หลัง ซึ่งจะอ่านว่า "รี-คอร์ด" เช่น I'll record the film and we can all watch it later. ฉันจะอัดหนัง เราจะได้เก็บไว้ดูทีหลังได้ ส่วนเครื่องบันทึก เราเรียกว่า "recorder" อ่านว่า รี-คอร์-เดอร์

          6) ต่างคนต่างจ่าย เรามักใช้ American share รับรองว่าฝรั่ง(ต่อให้เป็นชาวอเมริกันด้วยครับ) ได้ยินแล้ว งงแน่นอน ถ้าคุณจะหมายถึงต่างคนต่างจ่ายให้ใช้ว่า "Let's go Dutch." หรือ "Go Dutch (with somebody)." อันนี้ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าเป็นธรรมเนียมของชาวดัตช์หรือเปล่า? ที่ต่างคนต่างจ่ายเลยมีสำนวนอย่างนี้ หรือคุณอาจจะบอกตรงๆ เลยว่า "You pay for yourself." คือเป็นอันรู้กันว่าต่างคนต่างจ่าย แต่ถ้าคุณต้องการเป็นเจ้ามือ(ไม่ใช่เล่นไพ่นะครับ)เลี้ยงมื้อนี้เอง คุณควรพูดว่า "It's my treat this time." หรือ "My treat." หรือ "It's on me." หรือ "All is on me." หรือ "I'll pay for you this time." ทั้งหมดแปลว่า มื้อนี้ฉันจ่ายเอง ส่วนถ้าจะบอกเพื่อนว่า คราวหน้าแกค่อยเลี้ยงฉันคืน ให้บอกว่า "It's your treat next time."

          7) ขอฉันแจม (jam) ด้วยคน ในกรณีนี้คำว่า "แจม" น่าจะหมายถึง "ร่วมด้วย" เช่น We are going to eat outside. Do you want to jam? เรากำลังจะออกไปกินข้าวข้างนอก เธอจะไปด้วยมั้ย? ในภาษาอังกฤษไม่ใช้คำว่า jam ในกรณีแบบนี้ ซึ่งควรจะใช้ว่า "Do you want to join us?","Do you want to come with us?" หรือ "Do you want to come along?" จะดีกว่าครับ

          8) เขามีแบ็ค (back) ดี "He has a good back." ฝรั่งคงงงว่ามันเกี่ยวอะไรกับข้างหลังของเค้า เพราะ back แปลว่า หลัง (อวัยวะ) แต่คุณกำลังจะพูดถึงมีคนคอยสนับสนุน ซึ่งต้องใช้ "a backup" ซึ่งหมายถึง คนหรือสิ่งของที่ช่วยสนับสนุน ช่วยเหลือ เกื้อกูล เป็นกำลังใจให้

www.Lingothailand.com

ป้ายตลกๆจากทั่วโลก Funny Signs from Around the World











สวัสดีค่ะเพื่อนๆชาว Blog 
วันนนี้มีรูปภาพเก็บตกจากทั่วโลกมาฝาก เพื่อเป็นการเริ่มต้นวันจันทร์ที่ สดใสนะคะ
Funny Signs from Around the World
Credit: Cnngo.com


Croatia
Signspotting 4

Switzerland
Signspotting 4

Northern Ireland
funny signs

California 
funny signs

China
funny signs

China
funny signs

Italy 
funny signs



www.lingothailand.com


วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2555

2012 Thailand's English Speaking Year











Thailand 2012: The Year of English Speaking 





The Ministry of Education's  “English Speaking Year 2012” aims to prepare Thailand for the ASEAN Community in 2015 along with increasing awareness of ASEAN.

The Ministry of Education will urge and support all schools and universities to place more emphasis on communication in English.

Also, Mr. Woravat said that one day a week teachers and students should do academic activities together by speaking in English. They may include setting up an English corner in a school and English guide training. The Ministry of Education will provide an English preparation course for teachers as well.

Dr. Sasithara Pichaichannarong, Permanent Secretary for Education, said that the program of English Speaking Year 2012 would begin with pilot schools that are ready to implement the proposals. It will be extended to other places so that most Thais will be able to communicate in English.


Credit: Thailand PRD


บันทึกอาเซียน : English-Speaking Year 2012








บันทึกอาเซียน : English-Speaking 

Year 2012


พร้อมร่วมมือกันเพิ่มทักษะภาษาอังกฤษ ให้ทัดเทียม นานาประเทศ
บทความนี้ ว่าด้วย ปีแห่งการใช้ภาษาอังกฤษในโรงเรียน
เป็นเรื่องดี น่าชื่นชมยกย่องและต้องสนับสนุน

ASEAN Diary : 2555 : ปีแห่งการใช้ภาษาอังกฤษในโรงเรียน
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ.2554 ฯพณฯรัฐมนตรีว่าการะทรวงศึกษาธิการ. วรวัจน์ เอื้ออภิญญากุล ประกาศโครงการ “English-Speaking Year 2012” (ไม่มีคำแปลเป็นทางการ แต่อาจแปลเป็นไทยได้ว่า “2555 : ปีแห่งการใช้ภาษาอังกฤษในโรงเรียน”) เป้าประสงค์ก็เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับเด็ก เยาวชน ครู และบุคคลากรทางการศึกษา ตลอดจนสถาบันการศึกษาทั้งหลาย เพื่อการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียน ซึ่งกำหนดปี 2015 เป็นปีบรรลุเป้าหมายในการสร้าง “ประชาคมอาเซียน” (ASEAN Community) หรืออาจจะเรียกว่าเป็นปีเกิดอย่างเป็นทางการของประชาคมอาเซียนก็ได้
รัฐมนตรีศึกษาธิการอธิบายกิจกรรมปี “English-Speaking Year 2012” ซึ่งจะประกาศเป็นทางการในวันที่ 26 ธันวาคม 2554 โดยสรุปดังนี้ :
1. ส่งเสริมให้โรงเรียนทั้งหมดกว่า 30,000 โรงเรียนในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการได้ใช้ภาษา อังกฤษสื่อสารกันมากขึ้น โดยเบื้องต้นอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 วัน
2. ในวันที่กำหนด ให้ครูและนักเรียนใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารกันผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่นการจัดมุมภาษาอังกฤษ หรือหมู่บ้านภาษาอังกฤษในห้องเรียน การฝึกให้นักเรียนฝึกเป็นมัคคุเทศก์
3. ให้หน่วยงานในสังกัดที่เกี่ยวข้องวางแผนเตรียมความพร้อมให้กับครูและบุคคลากรทั้งระบบ ซึ่งประกอบด้วย (1) สำนักงานการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, (2) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา, (3) สำนักงานงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน           
4. ทำกิจกรรมร่วมกับสถานทูต องค์กรต่างประเทศ สถาบันสอนภาษาอังกฤษ สมาคมนักเรียนเก่าต่างประเทศ และโรงเรียนนานาชาติ ฯลฯ
5. สร้างแรงจูงใจให้โรงเรียน เช่นให้รางวัลไปท่องเที่ยวดูงานในอาเซียน           
6. จะเริ่มทำตามโครงการในโรงเรียนที่มีความพร้อมก่อนแล้วทยอยทำไปเรื่อยๆตามความพร้อมของแต่ละโรงเรียน
นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการตามที่ประกาศโดยสรุปนี้คงจะมีแผนงานโดยละเอียดในภาคปฏิบัติต่อไปในปี 2555 ณ เวลานี้ก็กล่าวได้ว่าเป็นนโยบายที่ดี น่าชื่นชม และสอดคล้องกับความจำเป็นเร่งด่วนของประเทศชาติที่จะต้องเตรียมพลเมืองไทยให้พร้อมเข้าร่วมในประชาคมอาเซียน ปี 2015/2555 ซึ่งกำลังจะมาถึงอีกไม่นาน
จากข้อมูลพื้นฐานเท่าที่รัฐมนตรีศึกษาธิการประกาศในภาพรวมโดยยังไม่มีรายละเอียด ขอตั้งข้อสังเกตุผสมความเห็นเพิ่มเติมดังนี้ :
คุณภาพของภาษาอังกฤษต้องได้มากกว่าการพูดคุยสื่อสารตามธรรมดา แต่ต้องใช้ภาษาอังกฤษได้ดีอย่างถูกหลักภาษา ส่วนสำเนียงภาษานั้นให้เป็นไปตามธรรมชาติของเราชาวไทย ภาษาอังกฤษเป็นภาษาของคนทั้งโลก สำเนียงภาษาและการออกเสียง ตลอดจนศัพท์แสลงต่างๆย่อมเกิดขึ้นและเป็นไปตามบริบทท้องถิ่นของสังคมและวัฒนธรรมไทย ภาษาอังกฤษสำเนียงไทยนั้นหากพูดอย่างถูกต้องตามหลักไวยากรณ์และออกเสียงถูกต้องตามรากศัพท์เดิมแต่มีสีสันของสำเนียงไทย ก็จะมีความงดงามน่ารักแบบไทย ซึ่งอาจเรียกภาษาอังกฤษสำเนียงไทยว่า “Tinglish”  ทำนองเดียวกันกับ “Singlish” ที่หมายถึงภาษาอังกฤษแบบสิงคโปร์
ประโยชน์ของการใช้ภาษาอังกฤษได้ดี คือการมีโอกาสในการค้นคว้าหาความรู้จากต้นตำราภาษาอังกฤษได้มากขึ้น นอกเหนือจากการอ่านหาความรู้ความบันเทิงจากเครือข่าย Internet ได้สะดวกขึ้นและเด็กๆจะได้ความรู้มากขึ้นด้วยการค้นคว้าด้วยตัวเองแล้ว ภาษาอังกฤษยังจะทำให้เด็กๆเข้าถึงงานวรรณกรรมสำคัญของโลกที่เป็นภาษาอังกฤษได้อย่างสนุกสนาน ไม่ว่าจะเป็นวรณกรรมอมตะที่เรียกว่า Classics Literature หรือจะเป็นวรรณกรรมร่วมสมัยที่เรียกว่า Contemporary Writing เป็นการเปิดขอบฟ้าใหม่ที่กว้างกว่าเดิมจนเกือบไม่มีขอบเขตจำกัด เข้าไปสู่โลกที่เป็นสากล ทั้งงานนวนิยายและสารคดี ตลอดจนตำราเรียนสารพัดวิชาทุกระดับชั้น
การใช้ภาษาอังกฤษได้ดีและใช้มากขึ้นมิได้หมายความว่าจะเป็นการลดความสำคัญของภาษาไทย ในทางกลับกัน กระทรวงศึกษาธิการจะต้องจัดกระบวนการเรียนการสอนและการศึกษาทั้งระบบโดยเน้นการพัฒนาทักษะการใช้ภาษไทยแบบครบวงจรด้วย ทั้งการอ่าน การฟัง การคิด การพูด การเขียน รวมถึงการประพันธ์งานวรรณกรรมร่วมสมัยให้งดงามสุนทรีย์มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวด้วย  ในปัจจุบันพบว่าคุณภาพและทักษะภาษาไทยของคนไทยลดลงทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ทั้งในครอบครัว สถาบันการศึกษาและในสื่อสารมวลชนสาธารณะ ดังนั้นการเร่งรัดปรับปรุงการใช้ภาษาไทยให้ได้มาตรฐานเป็นเรื่องเร่งด่วนมากยิ่งกว่าภาษาอังกฤษด้วยซ้ำไป
การประกาศนโยบายพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษในโรงเรียนเป็นคนละเรื่องกับการดำรงไว้ซึ่งความเป็นไทย และการอนุรักษ์วิธีชีวิตวัฒนธรรมไทย ภาษาอังกฤษไม่ทำลายภาษาไทยและไม่กัดกร่อนวัฒนธรรมไทย เพราะภาษาอังกฤษเป็นเครื่องมือสื่อสารเพื่อความเจริญของผู้คนและสังคมในด้านการเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ในชีวิต วัฒนธรรมไทยอาจถูกกัดกร่อนได้ด้วยวิธีคิดและการ กระทำของแต่ละคนซึ่งอาจได้รับแนวคิดแปลก-ใหม่-ดี-เลว มาจากภาษาใดก็ได้ ; การอ่านหนังสือ ดูหนัง ฟังเพลง และการเดินทางท่องเที่ยวที่ผิดทิศทางวัฒนธรรม ไม่ว่าจะผ่านภาษาสื่อสารอะไร ก็สามารถทำลายวัฒนธรรมอันดีงามดั้งเดิมได้ ; การไม่อ่านวรรณคดีไทยก็อาจทำลายความผูกโยงกับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมไทยในอดีตได้ในเวลาไม่นาน ; การอ่านวรรณกรรมภาษาอังกฤษที่งดงามและผูกโยงกับวัฒนธรรมไทยก็สามารถสร้างความรักความชื่นชมในวัฒนธรรมไทยได้ (เช่นเรื่อง Anna and the King of Siam, The King and I, The Apple Cart, The King of Thailand in World Focus, Tito, A Man Called Intrepid, The Animal Farm, 1984, Small is Beautiful, etc.); การดูภาพยนตร์จาก Hollywood บางเรื่องก็สามารถส่งผลให้รักหรือเข้าใจเมืองไทยมากยิ่งขึ้นได้ (เช่นเรื่อง Around the World in 80 Days, The King and I, The Bridge on the River Kwai, Good Morning Vietnam, Bridget Jones Diary, etc.) ดังนั้นการเร่งรัดพัฒนาทักษะภาษาไทยและภาษาอังกฤษต้องทำคู่ขนานพร้อมๆกันไป ไม่จำเป็นต้องเลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วหยุดอย่างใดอย่างหนึ่ง
การเรียนรู้เพื่อใช้ภาษาอังกฤษเป็นเรื่องง่าย ที่จริงโดยธรรมชาติของมนุษย์การเรียนรู้ภาษาต่างๆเป็นเรื่องง่ายตามธรรมชาติ หากเริ่มในวัยเด็กก็ยิ่งง่ายใกล้ธรรมชาติของเด็กกับการเรียนรู้ภาษามากขึ้น สำหรับผู้ใหญ่อาจจะดูเหมือนยากเพราะชักช้ากว่าเท่านั้นเอง ภาษาเป็นเรื่องการฝึกฝนทักษะและเป็นการเรียนรู้ไปตลอดชีวิต ทุกคนทำได้ ถ้าต้องการทำ ในแต่ละครอบครัวสมาชิกครอบครัวที่เป็นผู้ใหญ่แล้วหากไม่คิดจะพัฒนาทักษะภาษาของตนเองก็เป็นเสรีภาพของแต่ละคนที่เป็นพ่อแม่ปู่ย่าตายาย แต่สำหรับลูกหลานนั้นไม่มีทางเลือกหรือทางเลี่ยงใด ลูกหลานทุกคนที่เรียกว่า “เยาวชน คนรุ่นใหม่” จำต้องเรียนรู้ภาษาอังกฤษเป็นพื้นฐานในการเข้าสู่สังคมใหม่แห่งประชาคมอาเซียน เด็กและเยาวชนในอีก 9 ประเทศในอาเซียนจะมีทักษะภาษาไม่แพ้กัน หากลูกหลานของเราชาวไทยด้อยทักษะภาษากว่าเด็กชาติอื่นก็เป็นอันจบอนาคตอันรุ่งเรืองก้าวหน้าเพราะเราเริ่มแข่งขันในจุดที่ตามหลังเด็กคนอื่นแต่แรกเข้าสู่ประชาคมอาเซียนแล้ว พ่อแม่ผู้ปกครองและปู่ย่าตายายต้องสนับสนุนส่งเสริมลูกหลานของตนให้เท่าเทียมกับลูกหลานชาวบรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และเวียดนาม เพราะภาษาอังกฤษเป็นเพียงจุดเริ่มต้นที่เท่าเทียมกันในการแข่งขัน จากนั้นก็เป็นการแข่งกันด้วยความรู้ความสามารถที่อาศัยภาษาอังกฤษเป็นเครื่องมือค้นหาและสร้างสรรค์ชีวิตให้มีความหลากหลายได้
ภาษาอื่นในอาเซียนก็มีความสำคัญมากเช่นกัน ถือเป็นภาษาที่สามนอกเหนือจากภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพราะการเรียนรู้ภาษาอื่น เช่นภาษาอินโดนีเซีย ภาษามาเลย์ ภาษาจีน ภาษาเวียดนาม ภาษาลาว ภาษาแขมร์ ภาษาฟิลิปปิโน ฯลฯ จะช่วยสร้างความได้เปรียบให้กับลูกหลานเรามากขึ้นในการเดินทางข้ามพรมแดนไปสู่ตลาดแรงงานเสรีในอาเซียนอย่างมั่นใจ อาเซียนส่งเสริมให้ทุกโรงเรียนสอนภาษาของชาติสมาชิกอาเซียนเป็นภาษาที่สามอย่างน้อยหนึ่งภาษา
กระทรวงศึกษาธิการประกาศนโยบาย “English-Speaking Year 2012” เน้นเฉพาะโรงเรียน ไม่ได้กล่าวถึงมหาวิทยาลัย อาจเป็นเพราะความเป็นอิสระของมหาวิทยาลัยที่จะบริหารจัดการกันเอง จึงเป็นหน้าที่ของทุกมหาวิทยาลัย และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ที่จะต้องมี นโยบายเช่นเดียวกับระดับโรงเรียน มหาวิทยาลัยมีภาระกิจเร่งด่วนยิ่งกว่าโรงเรียนมากนัก เพราะนักศึกษาทั้งหลายกำลังจะเรียนจบภายใน 1-4 ปี จากนั้นก็จะเข้าสู่ตลาดแรงงานในเขตการค้าเสรีของอาเซียน เวลา 1-4 ปีจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด ผู้ที่กำลังจะเป็นบัณฑิตในแต่ละปีจะต้องพร้อมที่จะใช้ภาษาอังกฤษเป็นเครื่องมือหางานที่ดีทำทันที เพราะตลาดแรงงานในประเทศไทยจะเปิดรับหนุ่มสาวจากอาเซียนอีก 9 ประเทศ เท่าๆกับที่ในอีก 9 ประเทศจะเปิดรับหนุ่มสาวไทยเข้าสู่การแข่งขันกันหางานทำในประเทศนั้นๆเหมือนกัน อนาคตของหนุ่มสาวไทยจะสดใสหรือมืดมัวก็ขึ้นอยู่กับทักษะการใช้ภาษาอังกฤษและภาษาอื่นเป็นเรื่องสำคัญพื้นฐานเรื่องหนึ่ง (แต่ไม่ใช่เรื่องเดียว)
สำหรับประเทศไทยโดยรวมที่กว้างกว่าโรงเรียน 30,000 แห่งมากนัก รัฐบาลควรมีนโยบายคล้ายกันกับกระทรวงศึกษาธิการ แต่ขยายวงกว้างให้ครอบคลุมพลเมืองไทยทั้งประเทศ ทุกอาชีพ ทุกเพศวัย ทุกความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรม รัฐบาลต้องมีนโยบายเร่งด่วน สร้างคุณภาพพลเมืองทั้งประเทศให้มีคุณภาพเข้าสู่ตลาดแรงงานและสังคมวัฒนธรรมอาเซียนได้เช่นเดียวกันกับเด็กนักเรียนและนักศึกษา ประชาชนพลเมืองทุกคนต้องเริ่มเร่งรัดเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อเพิ่มสีสันทางสังคมและวัฒนธรรมให้กับชีวิตตน ส่วนที่ต้องไปหางานทำในประเทศอื่นในอาเซียนก็ยิ่งจะต้องพัฒนาภาษาอังกฤษและภาษาอื่นให้พร้อมที่จะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้อย่างมีคุณภาพ ปัจจุบันแรงงานไทยที่จะไปทำงานในต่างประเทศต้องพัฒนาทักษะภาษามากขึ้นกว่าเดิม เพราะการแข่งขันในตลาดแรงงานจะสูงขึ้นมากกว่าเดิม แรงงานจากพม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม จะพัฒนาคุณภาพและทักษะภาษาเข้าแข่งขันในตลาดแรงงานอาเซียนมากขึ้นแน่นอนใน 4-5 ปีข้างหน้า
รัฐบาลจึงควรกำหนดเรื่องการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษและภาษาอาเซียนอื่นให้เป็นวาระเร่งด่วนแห่งชาติ โดยอาจประกาศให้ช่วงปี 2012-2022 เป็น “ทศวรรษแห่งการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษและภาษาอาเซียนอื่น”  หรือ  “2012-2022: Decade for Language Learning” โดยตั้งเป้าหมายให้ผู้นำประเทศทุกระดับ ทุกแขนง มีทักษะการใช้ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาอาเซียนอื่นอีกหนึ่งภาษาเป็นอย่างน้อย ทั้งนักการเมืองระดับชาติและระดับท้องถิ่น ข้าราชการทั้งระบบ นักธุรกิจทุกสาขาและทุกระดับ ทุกคนในกลุ่มผู้นำสังคมควรจะต้องมีความมั่นใจในการใช้ภาษาให้รอบด้าน
ทั้งหมดนี้เป็นบางส่วนของแนวคิดในการพัฒนาทักษะทางภาษา เพื่อพัฒนาคุณภาพพลเมืองไทยสู่การเป็นส่วนของประชาคมอาเซียนและสู่การเป็นพลเมืองของโลกแห่งพลวัตน์โลกาภิวัตน์
ทักษะภาษาอังกฤษและภาษาต่างประเทศอื่นไม่ใช่ใบเบิกทางไปสู่ความสำเร็จในชีวิตโดยอัตโนมัติอีกต่อไปดั่งเช่นที่เคยเป็นไปได้ในศตวรรษที่แล้ว
ทักษะภาษาเป็นความจำเป็นพื้นฐานที่เป็นเพียงคุณสมบัติเบื้องต้นสำหรับพลเมืองไทย ให้สามารถเข้าสู่จุดเริ่มต้นออกวิ่งแข่งขันกับพลเมืองอื่นของอาเซียนอย่างเท่าเทียมกันได้เท่านั้น
Credit: Daily News สมเกียรติ อ่อนวิมล