สิ่งประดิษฐ์เพื่อเด็กน้อยสุดเจ๋งในยุคก่อน
credit: www.popsci.com
credit: www.popsci.com
ที่นอนเด็กทารก ปี ค.ศ. 1916
ในเมื่อประชากรของโลกนั้นมีมากขึ้นเรื่อยๆ (เยอะมาตั้งแต่อดีต) พื้นที่อาศัยก็หนาแน่นขึ้น คนจำนวนมากกังวลเรื่องการเลี้ยงดูเด็กในพื้นที่แคบๆ ดังนั้นนักประดิษฐ์ก็ไม่ยอมนิ่งนอนใจ ทำการสร้างที่นอนเด็กขนาดไม่ใหญ่มากซึ่งสามารถยื่นออกไปนอกตัวบ้านได้
โครงสร้างของเจ้าที่นอนนี้แข็งแรง โครงเหล็กที่รองเด็กสามารถรับน้ำหนักได้ถึง 200 กิโลกรัม ซึ่งยังแข็งแรงพอที่จะต้านลมแรงๆ อีกทั้งยังมีหน้าต่างที่มีตาข่ายป้องกันไม่ให้เด็กปีนออกจากตัวเฉลียง และป้องกันแมลงรบกวนได้ด้วย จากรูปภาพด้านบนจะเห็นได้ว่า ที่นอนเด็กรุ่นนี้ใหญ่พอที่จะใส่รถเข็นเด็กทำให้คุณแม่ประหยัดเนื้อที่ในบ้านได้ คราวนี้เด็กทารกของเราก็จะมีช่วงเวลาที่ได้เห็นภายนอกบ้าน พร้อมรับบรรยากาศต่างๆ ได้อย่างสะดวกมากขึ้นทีเดียว
เปลที่ไกวเองได้
คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ก็เหมือนกันทุกคนนั่นแหละ โดยเฉพาะกับนักประดิษฐ์อย่าง Sheldon D. Vanderburgh ที่อยู่ในย่าน Hastings-on-Hudson ของ New York ปี ค.ศ.1917 ที่ไม่สามารถรับมือกับเด็กทารกที่กำลังร้องไห้อยู่ตลอดเวลา เขาจึงหาทางแก้ไขปัญหานี้โดยการประดิษฐ์เปลขึ้นมา
เริ่มจากการนำเปลจากตาข่าย (คล้ายๆ เปลญวน) โดยหุ้มตาข่ายรอบๆ ของบางอย่างที่เหมือนตะกร้า และแขวนมันไว้กับเฟรมไม้ขนาดใหญ่ Vanderburgh ตระหนักว่ามันจะดีไม่น้อยถ้าเปลของเขาสามารถไกวเองได้ เขาจึงติดมอเตอร์เข้าไป โดยเสียงตอนมอเตอร์ที่ทำงานเบาๆ ช่วยให้เด็กหลับสบายขึ้นอีกด้วยนะ
นอกจากนี้ Luther P. Jones นักประดิษฐ์ ในปี ค.ศ. 1920 ก็ได้สร้างเปลที่ไกวโดยใช้มอเตอร์แต่หรูหรามากกว่า เพราะตอนเด็กตื่นนอนจะพบว่าล้อที่เป็นฐานของเปลนั้น เคลื่อนที่ได้อีกด้วย หน้าตาก็เป็นดั่งภาพต่อไปนี้
แคปซูลสำหรับใส่เด็กทารก ค.ศ. 1917
ผู้โดยสารรถไฟต้องรู้สึกรำคาญเสียงเด็กร้องไห้งอแงเป็นธรรมดาอยู่แล้วหล่ะ แต่พวกเราก็ได้แต่หวังว่าจะมีนักประดิษฐ์สักคนที่สร้างเครื่องมือที่ช่วยลดเสียงจากเด็กทารกเหล่านี้ระหว่างช่วงค่ำคืนของการหลับนอนออกมา นี่เลย เราแนะนำ แคปซูลเก็บเสียงสำหรับเด็กทารก โดย Caleb M. Prather จาก Illinois
Prather ได้ดีไซน์เจ้าแคปซูลเครื่องที่นี้ โดยระหว่างที่เด็กตื่น เด็กสามารถนั่งบนแคปซูลที่เปิด โดยขณะที่หลับก็จะปิดแคปซูล เด็กสามารถหายใจผ่านรูอากาศได้
ที่นอนติดไฟ Black Light ค.ศ. 1934
การลักพาตัวเด็กยังคงมีให้เห็นตลอด ดังนั้นที่นอนเด็กที่สามารถส่งเสียงเตือนภัยโดยใช้ Black Light จึงเกิดขึ้นมา ที่นอนเด็กซ่อน Black Light อยู่ข้างใต้ โดยจะมีเสียงเตือนหากมีอะไรรุกล้ำเข้ามาในคอกกั้น หรือที่นอนของเด็ก แต่สิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ก็อยู่ได้ไม่ค่อยนานเท่าไหร่ เพราะพ่อแม่ของเด็กไม่ค่อยชอบที่มีเครื่องมือเหล่านี้อยู่ใต้ที่นอนของลูกที่รัก
ที่นั่งเด็กสำหรับจักรยาน ปี ค.ศ. 1938
เป็นเรื่องดีถ้าได้ออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้งกับลูกน้อย ถ้าดูเผินๆ เจ้าที่นั่งเด็กสำหรับจักรยานจะดูไม่ค่อยเสถียรเท่าไหร่ Emile Eberle ชาว Switzerland ผู้ประดิษฐ์สิ่งนี้ก็ยังยืนยันว่ามันปลอดภัยเพียงพอ โดยที่นั่งนี้จะถูกรัดไว้กับคอจักรยาน และล้อหน้า เพื่อให้เวลาเราบังคับจักรยานตัวที่นั่งก็จะเคลื่อนที่ และหมุนไปในทิศทางเดียวกันกับผู้ขับนั่นเอง
ถุงกันแก๊สพิษ ค.ศ. 1938
กรณีมีสงครามเกิดขึ้น การใช้อาวุธต่างๆ ล้วนก่อให้เกิดสารเคมี และทำให้อากาศเป็นพิษต่อลูกน้อยของเราได้ ดังนั้นถุงชิ้นนี้จะมีตัวกรองอากาศ และที่ปั๊มอากาศ โดยใครก็ตามที่อุ้มเด็กอยู่สามารถควบคุมปริมาณอากาศบริสุทธิ์ให้เข้าไปในถุงกันแก๊สพิษโดยใช้ตัวปั๊มอากาศนั่นเอง
จากนั้นก็มีการอัพเกรดหลายต่อหลายครั้ง มีการวิจัยต่างๆ เป็นเวลาถึง 3 ปี และได้หน้ากากที่ดีขึ้น
เครื่องติดฉลากเด็ก โดยใช้แสง UV ค.ศ. 1938
ไม่มีใครอยากกับบ้านไปพร้อมกับลูกน้อยของคนอื่นหรอกนะ นักประดิษฐ์ด้านการใช้แสงUV จึงสร้างเครื่องมือที่คล้ายกับการติดฉลาก โดยยิงแสงลงไปบนผิวหนังของเด็กเลย เท่านี้ก็ทำให้ลดความสับสนได้แล้วหล่ะ โดยแสง UV ที่ยิงเครื่องหมายไปนั้นก็คือชื่อของเด็ก และจะค่อยๆ เลือนหายหลังจากผ่านไปประมาณ 2 – 3 อาทิตย์ คราวนี้ก็กลับบ้านพร้อมกับลูกที่ถูกต้องได้แล้ว (ในรูปหน้าตาคุณแม่มองไปยังพยาบาลอย่างมีความหวัง)
เครื่องช่วยให้เด็กฝึกเดิน ค.ศ. 1939
พ่อแม่ส่วนใหญ่สอนให้ลูกฝึกเดินโดยการอุ้มเด็กขึ้น และก็ช่วยพยุงให้เด็กค่อยๆ เดินไปมา หรือบ้างก็ใช้รถติดล้อ (พบเห็นได้มากในปัจจุบัน) แต่นักประดิษฐ์ชาว Swiss ก็มีไอเดียเก๋ไก๋ที่จะทำให้การฝึกเดินของเด็กมีความ Extreme ขึ้น (55) โดยการนำไม้ซึ่งมีที่รัดขาทั้งของเด็ก และผู้ฝึกเดินไว้ด้วยกัน โดยเราสามารถกำหนดทิศทางการเดินของเด็กได้ง่ายขึ้น (รึเปล่า?) และเพื่อป้องกันเด็กล้มหัวทิ่มพื้น ก็ยังมีเสื้อที่มีสายจูงให้ผู้ฝึกเดินจับไว้ เจ๋งมั้ยหล่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น