คำผิดเขียนถูก
คำภาษาไทยที่ฮิตเขียนผิดๆ
คำที่เขียนถูก | มักเขียนผิดเป็น | หมายเหตุ |
---|---|---|
ก็ | ก้อ | |
กงเกวียนกำเกวียน | กงกำกงเกวียน | กง และ กำ เป็นส่วนประกอบของล้อเกวียน |
กงสุล | กงศุล | "กงสุล" มาจากคำในภาษาฝรั่งเศสว่า "consul" |
กฎ | กฏ | กฎ ทุกอย่าง ใช้ ฎ ชฎา ยกเว้น ปรากฏ ใช้ ฏ ปฏัก ส่วน กรกฎ/กรกฏ สะกดได้ทั้งสองแบบ |
กบฏ | กบฎ, กบถ | - "กบฏ" ใช้ ฏ ปฏัก - ในสมัยโบราณ เคยสะกดด้วย ฎ ชฎา (ดู พจนานุกรมกฎหมาย ของ ขุนสมาหารหิตะคดี) - ถ้าออกเสียง "ขะ-บด" เขียน "ขบถ" |
กบาล, กระบาล | กะบาล, -บาน | ใช้เรียกศีรษะ แต่ไม่สุภาพ |
กรรมกร | กรรมกรณ์ | - "กรรมกร" = คนงาน, ลูกจ้างที่ใช้แรงงาน - "กรรมกรณ์" = อาญา, เครื่องสำหรับลงอาญา ฯลฯ มักสลับกัน |
กรรมกรณ์ | กรรมกร | - "กรรมกร" = คนงาน, ลูกจ้างที่ใช้แรงงาน - "กรรมกรณ์" = อาญา, เครื่องสำหรับลงอาญา ฯลฯ มักสลับกัน |
กระเพาะ | กะเพาะ, กะเพราะ, กระเพราะ | ระวังสับสนกับ กะเพรา |
กริยา | กิริยา | "กริยา" (กฺริ-) คือ คำชนิดหนึ่ง บอกอาการ การกระทำ เช่น เดิน วิ่ง เขียน เหล่านี้ คือ คำกริยา |
กรีฑา | กรีธา, กรีทา | กีฬาอย่างหนึ่ง มักสลับกัน |
กรีธา | กรีฑา | เคลื่อน ยก เดินเป็นหมู่หรือเป็นกระบวน เช่น กรีธาทัพ มักสลับกัน |
กลยุทธ์ | กลยุทธ, กลยุทธิ, กลยุทธิ์ | |
กลางคัน | กลางครัน | |
กลิ่นอาย | กลิ่นไอ | |
กสิณ | กสิน | |
กเฬวราก | กเลวราก | |
กอปร | กอป, กอปร์ | อ่านว่า "กอบ" |
กอล์ฟ | กลอฟ, กอลฟ์, ก็อลฟ์, ก็อล์ฟ, ก๊อลฟ์, ก๊อล์ฟ | |
กะทันหัน | กระทันหัน | |
กะเทย | กระเทย | |
กะเทาะ | กระเทาะ | |
กะบังลม | กระบังลม | |
กะปิ | กระปิ | |
กะพง | กระพง | |
กะพริบ | กระพริบ | |
กะพรุน | กระพรุน | |
กะเพรา | กะเพา, กระเพา, กระเพรา | ระวังสับสนกับ กระเพาะ |
กะล่อน | กระล่อน | |
กะละมัง | กาละมัง | |
กะลาสี | กลาสี | |
กะละแม | กาละแม, กาลาแม, กาละแมร์ | |
กะหรี่ | กระหรี่ | |
กะเหรี่ยง | กระเหรี่ยง | |
กะหล่ำ | กระหล่ำ | |
กะโหลก | กระโหลก | จำไว้ว่า กะโหลก กะลา |
กังวาน | กังวาล | |
กันทรลักษ์ | กันทรลักษณ์, กัณ- | |
กันแสง | กรรแสง, กรรณแสง | |
กาลเทศะ | กาละเทศะ | |
กาลเวลา | กาฬเวลา | กาล หมายถึง เวลา , กาฬ แปลว่า รอยดำ หรือ แดง |
กาฬสินธุ์ | กาฬสินธ์, กาล- | |
กำเหน็จ | กำเน็จ, กำเหน็ด | |
กิตติมศักดิ์ | กิติมศักดิ์, เกียรติมศักดิ์ | |
กินรี | กินนรี | แต่ "กิน-นอน" เขียน 'กินนร' |
กิริยา | กริยา | "กิริยา" คือ อาการ การกระทำ เช่น ปฏิกิริยา |
กุฎี, กุฏิ | กุฎ, กุฎิ | "กุฏิ" อ่านว่า "กุด" หรือ "กุด-ติ" , ถ้าต้องการอ่าน "กุ-ดี" ต้องเขียน "กุฎี" (ใช้คำไหนก็ได้) |
กู | กรู | คำสรรพนามบุรุษที่หนึ่ง |
เกม | เกมส์ | ในภาษาไทยสำหรับกรณีทั่วไปจะไม่มีการเปลี่ยนรูปแบบคำใด ๆ ทั้งสิ้น ไม่ว่าสื่อความหมายถึงเอกพจน์หรือพหูพจน์ เว้นแต่เป็นการทับศัพท์วิสามานยนาม เช่น "SEA Games" ว่า ซีเกมส์ |
เกล็ดเลือด | เกร็ดเลือด | |
เกษียณ | เกษียน, เกษียร | เกษียณ = สิ้นไป เช่นเกษียณอายุ; เกษียน = เขียน; เกษียร = น้ำนม |
เกสร | เกษร | ส่วนในของดอกไม้ |
เกาต์ | เก๊าท์ | |
เกียรติ | เกียตร, เกียรต, เกียรต์, เกียรติ์ | อ่านว่า "เกียด", ถ้าเขียน "เกียรติ์" อ่านว่า "เกียน" เช่น รามเกียรติ์ |
แก๊ง | แก๊งค์, แก๊งก์ | "แก๊ง" มาจากภาษาอังกฤษว่า "gang" ในภาษาไทยเป็นภาษาปาก หมายความว่า "กลุ่มคนที่ตั้งเป็นก๊กเป็นเหล่า (มักใช้ในความหมายไม่ดี) เช่น แก๊งโจร แก๊งอันธพาล" |
แกร็น | แกน, แกรน | ไม่เจริญเติบโตตามปรกติ (ใช้แก่คน สัตว์ และพืช), เช่น แคระแกร็น |
credit: wikipedia
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น