10 อาหารที่ไม่ควรกินบ่อย
เสี่ยงสารเคมีสะสมก่อโรค
credit: www.thaihealth.or.th
อย่ากินบ่อยนะ - ไข่เยี่ยวม้า ปาท่องโก๋ เนื้อย่าง ผักดอง ตับหมู ผักโขม ปวยเล้ง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เมล็ดทานตะวัน เต้าหู้หมัก เต้าหู้ยี้ ผงชูรส
10 อาหารที่ไม่ควรกินบ่อย เสี่ยงสารเคมีสะสมก่อโรค
1. ไข่เยี่ยวม้า..ไข่เยี่ยวม้ามีตะกั่วค่อนข้างสูง ตะกั่วทำให้การดูดซึมแคลเซียมน้อยลง กินบ่อยๆ จะเสี่ยงโรคกระดูกโปร่งบางและอาจได้รับพิษตะกั่วเช่น สมองเสื่อม เป็นหมัน ฯลฯ
2. ปาท่องโก๋..กระบวนการทำปาท่องโก๋มีการใช้สารส้ม ซึ่งมีตะกั่วปนเปื้อน ตะกั่วทำให้ไตทำงานหนักในการขับสารนี้ออกไปนอกจากนั้นยังทำให้คอแห้ง เจ็บคอง่าย โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคร้อนในได้ง่าย
3. เนื้อย่าง..กระบวนการรมไฟ ย่างไฟทำให้เกิดสารเบนโซไพรีนซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง
4. ผักดอง..ผักดองและของหมักเกลือทำให้ร่างกายได้รับเกลือโซเดียมสูง ถ้ากินบ่อยเกินหรือมากเกินจะทำให้หัวใจทำงานหนักเกิดความดันเลือดสูงและโรคหัวใจได้ง่าย นอกจากนั้นกระบวนการหมักดองยังทำให้เกิดสารแอมโมเนียมไนไตรด์ ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง
5. ตับหมู..ตับหมูมีโคเลสเตอรอลสูง การกินตับหมูบ่อยเกินหรือมากเกินทำให้เสี่ยงต่อโรคหัวใจ เส้นเลือดสมอง (อัมพฤกษ์อัมพาต) และโรคมะเร็งเพิ่มมากขึ้น
6. ผักโขม,ปวยเล้ง.. ผักโขมและปวยเล้งมีสารอาหารสูง ทว่า...มีกรดออกซาเลตมาก ทำให้เกิดการขับสังกะสี และแคลเซียมออกจากร่างกายมาก การกินบ่อยเกินหรือมากเกินอาจทำให้เกิดภาวะขาดแคลเซียมหรือสังกะสีได้
7. บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป..บะหมี่สำเร็จรูปมีสารกัดบูด สารแต่งรสค่อนข้างสูง และมีคุณค่าทางอาหารต่ำ การกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมากเกิน หรือบ่อยเกินอาจทำให้เสี่ยงต่อโรคขาดอาหารและการสะสมสารพิษได้
8. เมล็ดทานตะวัน..เมล็ดทานตะวันมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงทว่า... การกินมากเกินหรือบ่อยเกินอาจทำให้กระบวนการเคมี (metabolism) ในร่างกายผิดปกติ ทำให้เกิดการสะสมไขมันในตับภาวะไขมันในตับสูงอาจทำให้เสี่ยงต่อโรคตับ เช่น ตับแข็ง ฯลฯเพิ่มขึ้น
9. เต้าหู้หมัก,เต้าหู้ยี้..กระบวนการหมักเต้าหู้อาจมีการปนเปื้อนเชื้อโรคได้ง่าย... ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อคนสูงอายุ หรือเด็กเล็กได้ นอกจากนี้กระบวนการผลิตยังทำให้เกิดไฮโดรเจนซัลไฟด์ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่าง กาย
10. ผงชูรส..คนเราไม่ควรกินผงชูรสเกินวันละ 6 กรัม หรือประมาณ 1 ช้อนชา... การกินผงชูรสมากเกิน หรือบ่อยเกิน ทำให้เกิดภาวะกรดกลูตามิกในเลือดสูงอาจทำให้ปวดหัว ใจสั่น คลื่นไส้และมีผลเสียต่ออวัยวะสืบพันธุ์
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น