วันพุธที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2557

วัฒนธรรมการเรียกชื่อของคนจีน


วัฒนธรรมการเรียกชื่อของคนจีน


credit: www.lks.ac.th
การเรียกชื่อและนามสกุลของคนจีนไม่เหมือนกับของคนไทย กล่าวคือ เวลาเรียกชื่อจะขึ้นต้นด้วย นามสกุล(แซ่) แล้วตามด้วยชื่อ ส่วนของคนไทยนั้นเวลาเรียกชื่อจะขึ้นต้นด้วยชื่อก่อน แล้วตามด้วย นามสกุล ชื่อและนามสกุลของคนจีนโดยทั่วไปจะเป็นอักษรสามตัว คือ ตัวแรกจะเป็นแซ่ หรือนามสกุล เช่น หลิว เต๋อหัว แซ่หลิว ชื่อเต๋อหัว, เจียง เจ๋อหมิน แซ่เจียง ชื่อเจ๋อหมิน

นอกจากบางนามสกุลที่เป็นอักษรสองตัวหรือสองพยางค์ เช่น โอวหยาง ซิว ซือหม่า เชียน เป็นต้น เมื่อเขียนชื่อ-สกุลรวมกันจะเป็นสามหรือสี่ตัวอักษร ส่วนชื่อนั้นส่วนใหญ่ใช้สอง ตัวอักษร (ปัจจุบัน บางท้องที่ก็นิยมใช้ตัวเดียว เช่น หลี หมิง, หวัง เจี๋ย เป็นต้น

สำหรับการเรียกตำแหน่ง หรือวุฒินั้น คนจีนจะใช้นามสกุลนำหน้าแล้วตามด้วยตำแหน่ง เช่น หลี่จ๋งหลี่ (นายกรัฐมนตรีหลี่) "หลี่" คือ แซ่ "จงหลี่" คือตำแหน่ง, หวงจู่เยิ่น (หัวหน้าหวง) "หวง" คือแซ่ "จู่เยิ่น" คือตำแหน่ง, เฉินเจี้ยวโซ่ว (ศาสตราจารย์เฉิน) "เฉิน" คือแซ่ "เจี้ยวโซ่ว" คือตำแหน่ง เป็นต้น แต่การเรียกชื่อพร้อมด้วยตำแหน่งหรือวุฒิ ของชาวไทยหรือ ชาวต่างชาตินั้น มักจะเอาตำแหน่ง หรือวุฒิขึ้นก่อน แล้วจึงตามด้วยนามสกุล(แซ่ ) เช่น Minister Huang (นายกรัฐมนตรีหวง) Chairman Chen ท่านประธานเฉิน Professor Lin (ศาสตราจารย์หลิน) เป็นต้น

คนจีนมักจะมีการเรียกชื่อเฉพาะอีกอย่างหนึ่ง เช่นที่นครปักกิ่งจะมีการเรียกชื่อต่างๆ เช่น ผูถาวฉาง (องุ่นฉาง), เมี่ยนเหยินทาง (ตุ๊กตาแป้งหมี่ทาง), เมี่ยนเหยินหลาง (ตุ๊กตาแป้งหมี่หลาง) อย่างที่เมืองเทียนสิน จะมีชื่อเรียกว่า หนี่เหยินจาง (ตุ๊กตาดินเหนียวจาง) เป็นต้น คำว่า ผูถาว เมี่ยนเหยิน หนีเหยิน เหล่านี้ไม่ใช่ชื่อนามสกุล หรือตำแหน่งวุฒิอะไรทั้งสิ้น แต่คำเหล่านี้ล้วนเป็นชื่องานฝีมือ อย่างเช่น ผูถาวฉาง หมายถึง องุ่นที่ทำจากแก้วของศิลปินฉางจ้ายซุ่น หนี่เหยินจางหมายถึง ตุ๊กตาดินเหนียวของ จางหนิงจู่ ส่วน เมี่ยนเหยินทางและ เมี่ยนเหยินหลางนั้น หมายถึง ตุ๊กตาแป้งหมี่ของทางจื่อป๋อ และหลางเซ่าอานตามลำดับ ที่ปั้นได้สวยงามและมีชีวิตชีวาจนได้รับความนิยมแพร่หลาย

ด้วยเหตุนี้การเรียกชื่อดังกล่าวข้างต้น เป็นการเรียกศิลปินเฉพาะด้าน และยังหมายถึง งานฝีมือของเขาด้วย คำเรียกเหล่านี้แสดงถึงความสนิทสนมหรือการยกย่อง หรือเป็นเพราะสังคมสมัย ก่อน พวกคนทำงานฝีมือเป็นพวกที่มีฐานะต่ำหรือเปล่าก็มิอาจทราบได้ นอกจากนี้การเรียกชื่อคนดังกล่าวแล้ว
การเรียกชื่อร้านอาหารก็มีลักษณะเดียวกันอย่างเช่น ที่ปักกิ่งมี คำเรียกที่ว่า เข่าโย่วจี้ (เนื้อย่างจี้) เข่าโย่วหว่าน (เนื้อย่างหว่าน) หุนทุนโหว (เกี๊ยวน้ำโหว) การที่เรียก เช่นนี้ ความจริงก็คือ คนที่เปิดกิจการเนื้อย่าง เป็นคนสกุลจี้ คนขายเกี๊ยวเป็นคนสกุลโหว ที่ปักกิ่งจะเรียกกันแบบนี้ทั้งสิ้น แต่ที่มณฑลเสฉวนจะเอาแซ่ไว้หน้า เช่น ไล่ทังเอวี๋ยน (ขนมอี๋ไล่) กัวทังเอวี๋ยน (ขนมอี๋กัว) เฉินหมาผ่อโต้วฝู่ (เต้าหู้เฉิน) เป็นต้น
การเรียกชื่อมีอีกอย่างหนึ่ง คือการใช้แซ่ และฉายา จากนั้นตามด้วยเครื่องมือ เครื่องใช้ อย่างเช่น ที่เมืองหังโจว มีการเรียกว่าจางเสี่ยวเฉวียนเจี่ยนเตา (กรรไกรของจางเสี่ยวเฉวียน) หวังหมาจื่อเจี่ยนเตา (กรรไกรของหวังหมาจื่อ) 

คำข้างหน้าสุดคือแซ่ ส่วนกลางคือฉายานาม
ส่วนสุดท้ายคือเครื่องไม้เครื่องมือ อย่างเช่นข้างต้นที่เรียกว่า "หวังหมาจื่อ" เพราะใบหน้าของคนแซ่ หวังมีจุดด่างมากมาย จากคำเรียกเหล่านี้จะเห็นได้ว่า การเรียกชื่อของคนจีนมักจะเกี่ยวข้องกับ วัฒนธรรมการประกอบอาชีพของพวกเขา ถ้าเราเข้าใจถึงสภาพดังกล่าวแล้ว ก็จะสามารถเข้าใจ และเรียกชื่อของคนจีนได้อย่างถูกต้อง

เครดิต :  http://www.lks.ac.th/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น