พูดถึงสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆบนโลกของเราก็มีเยอะแยะมากหลายแห่งมาก
วันนี้ทางเราขอหยิบเอา ถ้ำอชันตา ที่ประเทศอินเดียวมาฝาก พูดถึงความสวยงาม ธรรมชาติ
ที่งามตระการตา ต่างเป็นที่ยอมรับและเป็นมรดกของโลก
The Ajanta Caves in Aurangabad district of Maharashtra, India are about 30 rock-cut Buddhist cave monuments which date from the 2nd century BCE to about 480 or 650 CE.
The caves include paintings and sculptures described by the government Archaeological Survey of India as "the finest surviving examples of Indian art, particularly painting", which are masterpieces of Buddhist religious art, with figures of the Buddha and depictions of the Jataka tales.
อชันตาเป็นชื่อหมู่บ้านเล็กๆ แห่งหนึ่งใกล้ถ้ำนั้น ห่างจากเมืองออรังคบาดไปทางตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 104 กม. เป็นถ้ำที่มีการขุดเจาะภูเขาเข้าไป เรียงกันถึง 30 ถ้ำ เพื่อใช้เป็นห้องโถงสำหรับสวดมนต์ และประกอบศาสนกิจ รวมถึงเป็นที่พำนักพระสงฆ์ จะเรียกว่าเป็นวัดในพุทธศาสนาแห่งหนึ่งก็ว่าได้
ถ้ำนี้มีกำเนิดก่อนคริสตศักราชราว 200 ปี (พ.ศ.350) เดิมทีเป็นผลงานที่สร้างโดยพระสงฆ์นิกายหินยาน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นช่างแกะสลักชาวฮินดูในวรรณะล่างที่เปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ ต่อมานิกายมหายานจึงเริ่มเข้าไปผสมผสานภายหลัง มีผู้สันนิษฐานว่าพระสงฆ์เลือกถ้ำแห่งนี้เนื่องจากเป็นสถานที่ที่สงบเงียบ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากเส้นทางส่งสินค้าของชาวอาหรับโบราณมากนัก จนกระทั่งกองทัพมุสลิมเข้ามายึดอินเดีย ถ้ำอชันตาก็หายไปจากความทรงจำของผู้คน ต่อมาใน ค.ศ.1819 นายทหารอังกฤษชื่อ นายจอห์น สมิธ ได้ออกล่าสัตว์ในเขตนั้น และพบถ้ำดังกล่าว เขาแทบไม่เชื่อสายตาตัวเอง เพราะไม่นึกไม่ฝันว่าคนสมัยนั้นจะมีความพยายามสูงส่ง ขนาดเจาะหินภูเขาเป็นที่อยู่อันใหญ่โตมโหฬารด้วยมือได้เช่นนี้
ถ้ำนี้มีกำเนิดก่อนคริสตศักราชราว 200 ปี (พ.ศ.350) เดิมทีเป็นผลงานที่สร้างโดยพระสงฆ์นิกายหินยาน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นช่างแกะสลักชาวฮินดูในวรรณะล่างที่เปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ ต่อมานิกายมหายานจึงเริ่มเข้าไปผสมผสานภายหลัง มีผู้สันนิษฐานว่าพระสงฆ์เลือกถ้ำแห่งนี้เนื่องจากเป็นสถานที่ที่สงบเงียบ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากเส้นทางส่งสินค้าของชาวอาหรับโบราณมากนัก จนกระทั่งกองทัพมุสลิมเข้ามายึดอินเดีย ถ้ำอชันตาก็หายไปจากความทรงจำของผู้คน ต่อมาใน ค.ศ.1819 นายทหารอังกฤษชื่อ นายจอห์น สมิธ ได้ออกล่าสัตว์ในเขตนั้น และพบถ้ำดังกล่าว เขาแทบไม่เชื่อสายตาตัวเอง เพราะไม่นึกไม่ฝันว่าคนสมัยนั้นจะมีความพยายามสูงส่ง ขนาดเจาะหินภูเขาเป็นที่อยู่อันใหญ่โตมโหฬารด้วยมือได้เช่นนี้
credit: wikipedia, dharmmajak
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น