วันพุธที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2557

Extreme Weather and Volcanoes

Extreme Weather and Volcanoes

www.issue247.com

ปฏิทินภาพถ่ายหาดูยาก


คลิกลิงค์เพื่อดาวน์โหลด www.phy.mtu.edu/apod/APODcalendar2015Weather.pdf

ถ้าถ่านและสายฟ้าฟาดเหนือภูเขาไฟแห่งไอซ์แลนด์

ภาพถ่าย เถ้าถ่านและสายฟ้าฟาดเหนือภูเขาไฟ ไอซ์แลนด์
Image Credit & Copyright: Sigurður Stefnisson

Source : apod.nasa.gov/apod/ap140420.html

สายฟ้าฟาดยามจันทรคราส ณ the Planet of the Goats

ภาพถ่าย สายฟ้าฟาด จันทรคราส the Planet of the Goats
Credit & CopyrightChris Kotsiopoulos (GreekSky)

Source : apod.nasa.gov/apod/ap110618.html

กลุ่มเมฆสีรุ้งเหนือยอดเขาทัมเซอกุ

ภาพถ่าย กลุ่มเมฆสีรุ้ง ยอดเขา Thamserku
Image Credit & Copyright: Oleg Bartunov

Source : apod.nasa.gov/apod/ap140708.html

ปรากฏการณ์เมฆแมมมาทัสเหนือเนบราสก้า

ภาพถ่าย เมฆ Mammatus Nebraska
Image Credit & Copyright: Jorn Olsen Photography

Source : apod.nasa.gov/apod/ap140415.html

ภูเขาไฟซากุระจิมะกับสายฟ้าฟาด

ภาพถ่าย ภูเขาไฟ Sakurajima กับสายฟ้า
Credit & Copyright: Martin Rietze (Alien Landscapes on Planet Earth)

Source : apod.nasa.gov/apod/ap100210.html

เมฆ นก พระจันทร์ ดาวศุกร์

ภาพถ่าย เมฆ นก พระจันทร์ ดาวศุกร์
Image Credit & Copyright: Isaac Gutiérrez Pascual (Spain)
คำอธิบาย : บางครั้งบนท้องฟ้าก็เปรียบเสมือนเวทีการแสดง ยกตัวอย่างเมื่อต้นเดือนกันยายน ปี 2010 พระจันทร์กับดาวศุกร์โคจรมาบรรจบกันทำให้ผู้ที่สนใจในท้องฟ้าจากทั่วโลกสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ภาพนี้ถูกบันทึกไว้ที่ประเทศสเปนขณะที่พระอาทิตย์กำลังตกดินทำให้ท้องฟ้ากลายเป็นสีน้ำเงิน เบื้องหน้าของภาพนี้เป็นกลุ่มเมฆฝนกระจายตัวอยู่เต็มส่วนล่าง ขณะที่เมฆรูปร่างคล้ายทั่งตีเหล็กสีขาวปรากฏอยู่ด้านบน จุดสีดำในภาพคือฝูงนก แต่หลังจากถ่ายภาพนี้เสร็จ ฝูงนกก็บินผ่านไป พายุก็สงบลง ดาวศุกร์กับดวงจันทร์ก็เริ่มมองเห็นได้อีกครั้ง
Source : apod.nasa.gov/apod/ap130512.html

เงารูปสามเหลี่ยมของภูเขาไฟยักษ์

ภาพถ่าย เงารูปสามเหลี่ยมของภูเขาไฟ Mount Teide
Image Credit & CopyrightJuan Carlos Casado (TWAN)
คำอธิบาย : ทำไมเงาของภูเขาไฟลูกนี้จึงคล้ายกับรูปสามเหลี่ยม? ภูเขาไฟเมาท์เตเดไม่ได้มีรูปทรงพีระมิดเหมือนกับเงาของมัน แต่ปรากฏการณ์เงาสามเหลี่ยมของเมาท์เตเดไม่ใช่เรื่องแปลกและมักเห็นได้จากยอดเขาหรือภูเขาไฟลูกอื่นๆ สาเหตุที่เงาของมันมีรูปร่างแปลกเกิดจากเงาที่เราเห็นในตอนพระอาทิตย์ตก (หรือพระอาทิตย์ขึ้น) ซึ่งจะเป็นเงาที่ยืดยาวไปสู่เส้นขอบฟ้า ต่อให้ภูเขาไฟมีลักษณะเป็นลูกบาศก์แต่เงาของมันก็จะกลายเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยยอดของเงาก็จะเบี่ยงเข้าหากันเป็นยอดแหลมเนื่องจากระยะที่มันยืดไกลออกไป เช่นเดียวกับการมองรางรถไฟไปในระยะไกลๆ ภาพด้านบนเป็นภาพปล่องภูเขาไฟปิโก เวียโฆ ตั้งอยู่ที่เกาะเตเนรีเฟ หมู่เกาะคานารี ประเทศสเปน
Source : apod.nasa.gov/apod/ap110705.html

เมฆม้วนเหนืออุรุกวัย

ภาพถ่าย เมฆม้วน อุรุกวัย
Credit & Licence: Daniela Mirner Eberl
คำอธิบาย : นี่คือเมฆชนิดไหนกัน? แท่งเมฆม้วนยาวหาดูยากเหล่านี้ก่อตัวขึ้นที่แนวปะทะอากาศเย็น การเคลื่อนที่ต่ำลงของแนวปะทะทำให้อากาศร้อนชื้นลอยขึ้นข้างบนและเย็นลงที่อุณหภูมิต่ำกว่าจุดระเหยของน้ำ สุดท้ายก็กลายเป็นเมฆ เมื่อเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นยาวออกไปตามแนวปะทะอย่างเท่าๆกันก็อาจก่อตัวกลายเป็นเมฆม้วน แกนกลางของเมฆม้วนจะมีอากาศไหลเวียนอยู่ และเชื่อกันว่าเมฆม้วนนี้ไม่สามารถกลายสภาพเป็นพายุหมุนได้ เมฆม้วนคือเมฆกันชนหรือเมฆอาร์คัสซึ่งเป็นเมฆที่แยกตัวออกมาจากเมฆคิวมูโลนิมบัส ปรากฏการณ์เมฆม้วนด้านบนนี้เกิดขึ้นเหนือชายหาดลาสโอลาสในเมืองมัลโดนาโด ประเทศอุรุกวัย เมื่อเดือนมกราคม ปี 2009
Source : apod.nasa.gov/apod/ap130602.html

การระเบิดของภูเขาไฟอลาสก้า

ภาพถ่าย การระเบิดของภูเขาไฟคลีฟแลนด์ อลาสก้า
Credit : J. N. WilliamsInternational Space Station 13 CrewNASA
คำอธิบาย : เกิดอะไรขึ้นกับภูเขาไฟลูกนี้? มันระเบิดยังไงล่ะ! บุคคลแรกที่สังเกตเห็นว่าภูเขาไฟคลีฟแลนด์บนเกาะ Aleutian มีควันพวยพุ่งออกมาก็คือนักบินอวกาศ เจฟฟรีย์ วิลเลี่ยมส์ ซึ่งอยู่บนสถานีอวกาศนานาชาติ ก่อนหน้าที่ภาพนี้จะถูกบันทึกไว้เพียง 2 ชั่วโมง ภูเขาไฟคลีฟแลนด์ก็ได้เกิดการปะทุเล็กน้อย ภูเขาไฟลูกนี้เป็นหนึ่งในภูเขาไฟที่ยังคงปะทุอยู่บนหมู่เกาะ Aleutian และได้รับพลังงานจากหินแม็กม่าที่เคลื่อนตัวจากการเหลื่อมกันของพื้นแผ่นดินแปซิฟิกที่อยู่ใต้พื้นแผ่นดินอเมริกาเหนืออีกที แล้วเคลื่อนไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
Source : apod.nasa.gov/apod/ap060607.html

เมฆระฆังเหนือเซียร์ราเนวาดา

ภาพถ่าย เมฆระฆังเหนือภูเขา Sierra Nevadas
Image Credit & Copyright: Guido Montañés
คำอธิบาย : เดือนมกราคม ขณะที่พระอาทิตย์กำลังตกที่ย่าน Albayzin เมืองกรานาดา ประเทศสเปน ก็ปรากฏก้อนเมฆขนาดใหญ่รูปร่างคล้ายระฆังกำลังปกคลุมยอดเขา Veleta เมฆรูปหมวกนี้ก่อตัวขึ้นจากอากาศที่ถูกดันขึ้นไปโดยยอดเขา จากนั้นอากาศจะเย็นลงกลายเป็นความชื้น ในที่สุดโมเลกุลน้ำจะกลั่นตัวเป็นละอองน้ำในก้อนเมฆ เมฆระฆังนี้เป็นเหตุการณ์พิเศษเนื่องจากปกติอากาศจะเคลื่อนที่ในแนวนอนทำให้เมฆส่วนใหญ่มีลักษณะค่อนข้างแบนเรียบและเรียงกันตัวกันอยู่ด้านล่างๆ คลื่นแนวตั้งสามารถเพิ่มเมฆให้เป็นชั้นๆได้อย่างที่เห็นในภาพ และด้วยสีสันยามพระอาทิตย์ตกทำให้เมฆก้อนนี้ดูสวยงามวิเศษยิ่งขึ้น
Source : apod.nasa.gov/apod/ap131126.html

พระอาทิตย์ทรงกลดบนฟากฟ้าสตอกโฮล์ม

ภาพถ่าย พระอาทิตย์ทรงกลดบนฟากฟ้า Stockholm
Credit & Copyright: Peter Rosén
คำอธิบาย : เกิดอะไรขึ้นกับพระอาทิตย์? บางครั้งพระอาทิตย์ก็ดูเหมือนกำลังถูกมองผ่านเลนส์ขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตามภาพข้างบนเมีเลนส์นับล้านๆเลนส์หรือผลึกน้ำแข็งนั่นเอง ขณะที่น้ำเย็นจัดในชั้นบรรยากาศด้านบนการผลึกตัวเป็นน้ำแข็งรูปทรงหกเหลี่ยมเล็กๆและแบนก็อาจก่อตัวขึ้นได้ โดยมันจะใช้เวลานานในการตกถึงพื้นเนื่องจากความแบนและการขนานกับพื้น ผู้สังเกตการณ์อาจอยู่ที่ระดับความสูงเดียวกับผลึกน้ำแข็งเหล่านี้ ที่กำลังร่วงลงมาในช่วงพระอาทิตย์ขึ้นหรือพระอาทิตย์ตก แล้วด้วยตำแหน่งที่เหมาะเจาะผลึกน้ำแข็งเหล่านี้ก็จะทำหน้าที่คล้ายกับเลนส์ขนาดจิ๋วหักเหแสงอาทิตย์เข้าสู่ดวงตาของเรา และเกิดปรากฏการณ์พาฮีเลียหรือการทรงกลดแบบซันด็อก ภาพข้างบนนี้ถูกบันทึกเมื่อปีที่แล้วในกรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ตรงกลางภาพคือดวงอาทิตย์ขนาบข้างด้วยทรงกลดแบบซันด็อกทั้งซ้ายและขวา และยังมีการสะท้อนแสงออกจากชั้นบรรยากาศของผลึกน้ำแข็งอีกด้วย
Source : apod.nasa.gov/apod/ap110110.html

เมฆฝนฟ้าคะนองล่าถอยยามพระอาทิตย์ตกดิน

ภาพถ่าย เมฆฝนฟ้าคะนองล่าถอยยามพระอาทิตย์ตกดิน Alberta แคนาดา
Image Credit & Copyright: Alan Dyer (The Amazing Sky)
คำอธิบาย : นี่คือเมฆชนิดไหน? นี่คือเมฆคิวมูโลนิมบัสหรือที่เรียกกันว่าเมฆฝนฟ้าคะนอง ซึ่งมีความแปลกตรงที่ความขรุขระและตะปุ่มตะป่ำบริเวณปลายของเมฆแมมมาทัสขณะที่มีฝนตกอยู่อีกด้านหนึ่ง ภาพนี้ถูกบันทึกเมื่อกลางเดือนมิถุนายนทางตอนใต้ของรัฐอัลเบอร์ต้า ประเทศแคนาดา เมฆก้อนนี้กำลังเคลื่อนไปทางทิศตะวันออกและพระอาทิตย์ก็กำลังตกดินทำให้เมฆกลายเป็นสีส้มอมชมพูสวยตื่นตาตื่นใจ ส่วนพื้นหลังปกคลุมด้วยท้องฟ้าสีเข้ม ไกลออกไปทางขวามือจะเห็นดวงจันทร์
Source : apod.nasa.gov/apod/ap130828.html

เมฆพายุมหึมาเหนือมอนทาน่า

ภาพถ่าย เมฆพายุมหึมา Supercell Montana
Image Credit & Copyright: Sean R. Heavey
คำอธิบาย : นี่คือยานอวกาศหรือเมฆกันแน่? แม้จะดูเหมือนยานแม่ของมนุษย์ต่างดาว แต่จริงๆแล้วนี่คือเมฆพายุที่เรียกกันว่าซูเปอร์เซลล์ พายุขนาดมหึมาจะหมุนขึ้นข้างบนซึ่งกินพื้นที่หลายกิโลเมตร ทำให้เกิดฝนฟ้าคะนองและลมพัดแรงรวมถึงทอร์นาโด เมฆที่ดูแปลกตาช่วยเสริมบรรยากาศโดยรอบของซุปเปอร์เซลล์ ในขณะที่ลมฝุ่นกับฝนก็ครอบคลุมทุกสิ่งที่อยู่ตรงกลาง ภาพเมฆซูเปอร์เซลล์ด้านบนถูกบันทึกเมื่อเดือนกรกฎาคมทางตะวันตกของเมืองกลาสโกว์ รัฐมอนทาน่า สหรัฐอเมริกา สร้างความเสียหายเพียงเล็กน้อยและหมุนอยู่หลายชั่วโมงก่อนที่จะไปที่อื่น
Source : apod.nasa.gov/apod/ap130505.html

ภูเขาไฟกับแสงออโรรา ณ ไอซ์แลนด์

ภาพถ่าย ภูเขาไฟ แสงออโรรา ไอซ์แลนด์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น