ดัชนีชี้วัดความสุข
“Gross National Happiness is more important than Gross National Product.”
Jigme Singye Wangchuck, King of Bhutan, 1972
Gross national happiness (GNH) ความสุขมวลรวมประชาชาติ แนวคิดที่เริ่มเสนอโดยรัฐบาลภูฐานที่จะใช้ดัชนีความสุขมวลรวมประชาชาติ วัดความเจริญก้าวหน้าในการพัฒนาประเทศของตน แทนดัชนีผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GNP) ซึ่งวัดจากมูลค่าสินค้าและบริการโดยรวมของทั้งประเทศ เนื่องจากพวกเขาเห็นว่ามูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ เพียงแต่สะท้อนภาพหยาบๆของสินค้าและบริการที่มีการผลิตและซื้อขายกันแต่ไม่ได้สะท้อนการพัฒนาด้านสังคมและคุณภาพชีวิตของประชาชนส่วนใหญ่ แนวคิดเรื่องดัชนีความสุขมวลรวมประชาชาติของภูฐานเสนอว่า การจะพัฒนาประเทศเพื่อเป้าหมายนี้จะต้องพิจารณาการพัฒนามนุษย์ทั้ง 4 ด้าน คือ การพัฒนาเศรษฐกิจ การอนุรักษ์สภาพแวดล้อม การส่งเสริมด้านวัฒนธรรม และการบริหารที่ดี (good governance) มุ่งเน้นการวัดความสุขที่เกิดจากจิตใจ มิใช่ทางด้านวัตถุโดยประเทศชาติควรมองถึงคุณภาพชีวิตของประชากร ด้านสังคม อารมณ์ จิตใจ สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ และวัฒนธรรมประเพณีมากกว่าการบริโภคการจับจ่ายใช้สอยในประเทศเพียงอย่างเดียว
เหตุผลคือการอธิบายถึงต้นทุนของ GDP ที่เพิ่มขึ้น การเพิ่มขึ้นของ GDP นั้นมาจากการวัดมูลค่าผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ ซึ่งการผลิตสินค้าชนิดหนึ่ง ๆ นั้นจะเป็นส่วนหนึ่งในมูลค่าผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ แต่การที่ GDP เพิ่มขึ้นนั้นไม่ได้หมายความว่าประเทศชาติจะพัฒนาขึ้นตาม ในทางกลับกันสินค้าที่เพิ่มขึ้นนั้นอาจนำมาซึ่งความเสียหาย และสูญค่าของประชาชาติก็ได้ อาทิ การผลิตสุราของมึนเมาเพิ่มขึ้นนั้น ต้นทุนของมันอาจนำมาสู่ การทำผิดกฎหมาย การฆาตกรรม การทำผิดศีลธรรมต่าง ๆ ก็เป็นได้ ซึ่ง GDP ไม่ได้สนใจในเรื่องนี้ GDP มุ่งที่จะวัดแต่การผลิตที่เพิ่มขึ้นของสินค้า ไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นของสินค้าที่มีต่อประเทศชาติ ดังนั้น GDP เพียงบอกได้แต่ว่าประเทศชาติมีการผลิตเท่าไร แนวโน้มเป็นอย่างไรแต่ไม่สามารถบอกได้ว่าประชาชนในประเทศอยู่ดีกินดี มีความสุขเสรีภาพตามมาตรฐานมากน้อยเพียงใด จึงได้เกิดแนวความคิดในการที่จะวัดความกินดีอยู่ดีในประเทศชาติขึ้นมาซึ่ง GNH
credit: witayakornclub, ocsc.go.th,
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น