วันอาทิตย์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2557

เมื่อใดเด็กจึงจะเริ่มพูด




เมื่อใดเด็กจึงจะเริ่มพูด

credit: www.si.mahidol.ac.th



1. เมื่อใดเด็กจึงจะเริ่มพูด
            การพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็ก ก็จะเริ่มตั้งแต่แรกเกิด ตั้งแต่เด็กส่งเสียงร้องไห้
ประมาณ 2-3 เดือน ก็จะเริ่มส่งเสียงอ้อแอ้ ก็จะเหมือนจะเป็นการพูดคุยกับคุณแม่ ก็จะพัฒนาเรื่อย มา จนประมาณ 5-6 เดือน เด็กก็จะเริ่มเล่นน้ำลายเป่าปาก ส่งเสียงจากลำคอ ในที่สุดก็จะพัฒนามาเป็นคำพูดที่มีความหมาย โดยมากก็จะเริ่มตั้งแต่ประมาณ 10 เดือน – 15 เดือน หรือ เฉลี่ยประมาณ ขวบ ก็จะพูดเป็นคำที่มีความหมายซึ่งเด็กจะได้รับการกระตุ้นให้พูดหรือเปิดโอกาสไม่มีการเรียนรู้ภาษาจากพ่อแม่ ในที่สุดคำศัพท์ก็จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ประมาณ ขวบ ก็จะเริ่มพูดคำที่มีความหมาย 2 คำ ติดกัน เป็นวลีสั้น ๆ ไปไหน ไม่เอา แล้วก็จะเริ่มขึ้นเป็นประโยคยาว ๆ ได้ประมาณ 3-4 ขวบ
2. อย่างไรถึงจะเรียกว่ามีความผิดปกติเกี่ยวกับเรื่องการพูด
            โดยทั่วไป เราถือว่าเมื่ออายุ ขวบแล้ว  ยังพูดคำที่มีความหมายไม่ได้เลย หรือ พูดได้แค่คำศัพท์คำเดียว หรือสื่อสารกับคนอื่น ๆ ไม่ได้ ก็ถือว่าผิดปกติแน่นอน แต่ก็ไม่ควรรอจน ขวบ แล้วค่อยมาปรึกษาแพทย์ เพราะฉะนั้น ถ้าคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นถึงพัฒนาการทางภาษาไม่เป็นไปตามปกติหรือไม่เหมือนเด็ก ๆ คนอื่น ๆ ก็ควรจะไปขอคำปรึกษากับแพทย์ได้ ในการที่พ่อแม่จะดูว่าเด็กปกติหรือไม่ นอกจากสังเกตการพูดสื่อสารให้เราเข้าใจได้หรือไม่ เราสามารถดูจากการพูดหรือสั่ง ว่าเด็กเข้าใจหรือไม่ สามารถทำตามคำสั่งได้หรือไม่ ซึ่ง เด็กอายุ ขวบนั้น สามารถทำตามคำสั่งง่าย ๆ ได้ เข้าใจได้ว่าพ่อแม่พูดว่าอะไร เด็กมีความสนใจหรือไม่ เรียกชื่อแล้ว เด็กหันมารับทราบ หรือตอบรับ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เราสามารถนำมาประกอบกันดูว่า เด็กผิดปกติหรือไม่โดยการพัฒนาทางภาษา นั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น ทาง คือ การพูด และการรับฟัง ซึ่งจะต้องพัฒนาการควบคู่กันไป
3. เด็กพูดช้า เกิดจากสาเหตุใด
            สาเหตุใหญ่ที่พบบ่อย ๆ  อย่างที่เรียนมาข้างต้นว่า การพูดจะต้องเป็นการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างคนฟังกับคนพูด เพราะฉะนั้น ถ้าการได้ยินไม่ดี มีการได้ยินบกพร่อง เด็กก็จะพูดช้า เพราะฉะนั้น สาเหตุอันดับแรก คือ
1. เด็กมีความผิดปกติของหูหรือไม่ เช่น การได้ยินไม่ได้ หูดับ หูหนวก หรือไม่
2. มีการพัฒนาล่าช้าไปทุก ๆ ด้าน หรือมีภาวะปัญญาอ่อน เด็กกลุ่มนี้พัฒนาการด้านอื่น ๆ จะช้า แต่ก็จะไปพร้อม ๆ กัน
3. ภาวะออทิสติก เด็กกลุ่มนี้จะมีความบกพร่องในเรื่องของการใช้ภาษาการสื่อสารกับผู้อื่น ทางการพูด หรือการสื่อสารโดยไม่ใช้คำพูด เช่น การใช้ท่าทาง การสบตา ในด้านสังคมก็จะเสียไปด้วย
4. สาเหตุอีกสาเหตุหนึ่ง ส่วนใหญ่มักพบไม่บ่อยนั้น จะพบว่ามีประวัติในครอบครัวมีญาติที่เคยพูดช้า กลุ่มนี้เราเรียกว่า มีความบกพร่อง เฉพาะด้าน เฉพาะการพูดอย่างเดียว กลุ่มนี้การพยากรณ์โดยค่อนข้างดี พอเริ่มพูดได้ก็จะพูดเป็นปกติ
5. เด็กที่พูดช้า แต่ขาดการกระตุ้นที่เหมาะสม เช่น พ่อไม่มีมีเวลา ก็มักจะเปิดโทรทัศน์ไว้ให้เด็กดู แต่ไม่มีติดต่อสื่อสารโต้ตอบ ซึ่งจะเห็นว่าเป็นการสื่อสารเพียงอย่างเดียว ทำให้การพัฒนาทางภาษาของเด็กหยุดงะงัก ซึ่งทางบ้านเราจะได้ประวัติว่ามักจะให้พี่เลี้ยงเลี้ยง ซึ่งอาจจะไม่มีการเล่น หรือพูดคุยกันเลย
4. เมื่อใดที่ควรพาเด็กมาพบแพทย์
            เมื่อใดที่คุณพ่อ คุณแม่เริ่มสังเกตหรือสงสัยในความผิดปกติ ก็ควรจะพาไปพบกุมารแพทย์ หรือ ถ้าอายุประมาณ ขวบ แล้วยังพูดไม่ได้ หรือพูดเป็นคำ ๆ เดียวก็ควรพาลูกไปพบแพทย์ได้เลย
5. วิธีการตรวจเบื้องต้น และแก้ไขควรทำอย่างไร
            นอกจากการพาเด็กไปพบกุมารแพทย์เพื่อประเมิน เรื่องพัฒนาทั่ว ๆ ไปของเด็ก ถ้ามีการสงสัย เราก็จะมีการตรวจการได้ยินเป็นอันดับแรก เพื่อให้แน่ใจว่า การได้ยินของเด็กชัดหรือไม่ หรือเป็นจากสาเหตุอื่น ๆ จากนั้นก็หาสาเหตุต่อไป ถ้ามาจากสาเหตุของการกระตุ้น การรักษาที่แน่นอนที่สุด ก็คือ พ่อแม่จะต้องมีเวลาให้เด็กมากขึ้นในการเล่น พูดคุย โดยส่วนใหญ่เด็กก็จะตอบสนองได้ดี และจะกลับมาพูดเป็นปกติได้ในเวลาที่รวดเร็ว และถ้ายังคงมีปัญหาอยู่เราก็จะมีบริการเรื่องการฝึกพูด โดยมีนักฝึกพูดหรือเรียกทางการว่า วจีบำบัด ซึ่งจะช่วยเหลือในการพูดช้า การออกเสียง เด็กพูดไม่ชัด การออกเสียง เด็กพูดไม่ชัดโดยทั่วไปก็จะต้องรักษาการฝึกพูด ในเบื้องต้นแล้วถ้าคุณพ่อคุณแม่รู้สึกว่าลูกมีความผิดปกติ คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยโดยการพูดกับเด็กให้มากขึ้น แต่ไม่ได้หมายถึง การบังคับให้เด็กพูด แต่ควรพูดกับเด็ก โดยทั่วไปเด็กควรจะเห็นผู้พูดในระดับสายตา พูดช้าๆ ชัด ๆ ก็จะเป็นการสอนลูกไปในตัว
6. การที่เด็กอยู่สังคม / สิ่งแวดล้อมที่มีการพูดคุย มีคนรอบข้างพูดคุยด้วยเป็นประจำ จะทำให้เด็กมีพัฒนาการต่าง ๆ ได้เร็ว ๆ จริงหรือไม่
            ถูกต้อง เพราะพัฒนาการทางภาษาของเด็กไม่สามารถเกิดขึ้นได้เอง    แต่จะต้องเกิดจากการปฏิสัมพันธ์กัน สิ่งแรก คือ มีความพร้อมทางด้านสมอง มีความพร้อมทางด้านการได้ยิน เรื่องของอวัยวะในปาก ที่จะเปล่งเยงได้ และสิ่งที่สำคัญที่สุด ก็คือ โอกาสที่เด็กจะได้ยินคำพูดของผู้ใหญ่แล้วเปล่งเสียงตาม ถ้าไม่มีเด็กก็จะไม่สามารถพูดได้ เช่น ถ้าพ่อแม่มีเวลาพูดคุยกับลูกเป็นประจำ ลูกก็จะพูดได้เร็ว แต่ถ้าผู้ใหญ่พูดคุยกันเอง แต่ไม่ได้พูดกับเด็ก ก็จะไม่ได้ช่วยพัฒนาการทางด้านภาษาแต่อย่างไร
7. นอกจากการพัฒนาการช้าด้านการพูดคุยแล้ว จะส่งผลไปถึงพัฒนาการด้านอื่น ๆ ด้วยหรือไม่
            มีโอกาสเป็นไปได้ เพราะการสื่อสารในเรื่องที่สำคัญในชีวิตเรา เด็กหลายรายที่พูดไม่ได้ ก็ไม่สามารถบอกความต้องการได้ อาจจะทำให้เด็กหงุดหงิด เด็กก็จะอาละวาด ร้องไห้ ถ้าผู้ใหญ่ไม่เข้าใจ และลงโทษด้วยการดุหรือตี ก็จะเพิ่มเรื่องปัญหาทางด้านอามรณ์ พฤติกรรมทั่วไป เพราะฉะนั้น เรื่องการพูดเป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้น เด็กควรได้รับการตรวจประเมินตั้งแต่แรกและทำการแก้ไข   เพื่อป้องกันปัญหาพัฒนาการทางด้านอื่น
8. ในกรณีที่เด็กมีปัญหาในเรื่องการพูด เมื่อได้รับการรักษาแล้ว จะสามารถกระตุ้นให้พัฒนาการเด็กวัยเดียวกันหรือไม่
            เราจะไม่สามารถทำนายได้ว่า เด็กจะเป็นปกติได้เมื่อใด แค่ไหน แต่ถ้าเด็กได้รับการพัฒนาการและส่งเสริมให้ใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพที่ดี เด็กก็จะมีโอกาสเป็นปกติได้
9. นอกจากการพาไปแพทย์แล้ว คุณพ่อคุณแม่ยังจำเป็นจะต้องใช้สื่อกระตุ้นอื่น ๆ ร่วมด้วยหรือไม่
            จริง ๆ แล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ที่จะส่งเสริมจากคุณพ่อคุณแม่นอกจากนั้น ก็อาจจะเป็นคนในครอบครัว เพื่อน ๆ  ในโรงเรียน คุณครู ส่วนสื่อด้านอื่น ๆ เช่น การดูทีวีมาก ๆ (เด็กเล็ก)  ซึ่งการฟังจากทีวีจะเป็นการสื่อสารฝ่ายเดียว ไม่เป็นปฏิสัมพันธ์กัน ก็จะไม่สามารถช่วยเรื่องการพัฒนาการทางด้านภาษา แต่ถ้าใช้ร่วมกัน เช่น คุณพ่อ คุณแม่ร่วมดูทีวีอยู่ด้วย พูดคุยบ่อย ๆ ก็จะมีประโยชน์
10. ข้อแนะนำท้ายรายการ
           ฝากถึงคุณพ่อคุณแม่ว่า การพูดเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่จะช่วยลูก ๆ ได้อย่างมาก ถ้ามีข้อสงสัย ควรรีบพบแพทย์ เมื่อรับคำแนะนำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น