วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

สรุป Grammar ภาษาอังกฤษแบบกระชับสุดๆ 2

สรุป Grammar ภาษาอังกฤษแบบกระชับสุดๆ 2

www.siraekabut.com


Clause มีอยู่ 2 ประเภท คือ
  • Independent Clause = หรือ Simple Sentence (ประโยคอย่างง่าย) ซึ่งก็คือ Clause ที่อยู่โดดๆ ได้ อ่านรู้เรื่อง ซึ่งตัวมันเองก็ถือว่าเป็นประโยคแล้ว มี Subject และ Verb ที่แสดงความหมายโดยสมบูรณ์ เช่น It was raining hard. (ฝนกำลังตกหนัก = พูดแค่นี้ก็รู้เรื่องแล้ว)
  • Dependent Clause = Clause ที่อยู่โดดๆ ไม่ได้ ต้องมี Clause อื่นอยู่ด้วยจึงจะประกอบกันเป็นประโยคที่อ่านรู้เรื่อง เช่น When we were in Bangkok (เมื่อเราอยู่ที่กรุงเทพ =แล้วไง?? พูดแค่นี้ไม่รู้เรื่อง มันต้องมีประโยคอื่นมาด้วย เช่น เมื่อเราอยู่ที่กรุงเทพ เราชอบไปเที่ยวห้างมาก เป็นต้น)

ประโยคความรวม (Compound Sentence)

เกิดจากการรวมกันระหว่าง Independent Clause 2 ตัวขึ้นไป ซึ่งเราจะใช้ Coordinating conjunctions ต่อไปนี้ในการรวมประโยค

Coordinating conjunctions

For (เพราะว่า), And (และ) , Nor (และแบบปฏิเสธ), But (แต่), Or (หรือ), Yet (แต่), So (ดังนั้น) หรือ FANBOYS
โดยคั่นประโยคด้วย “, (คอมม่า)” ตามด้วยคำสันธาน แต่ว่าถ้าประโยคสั้นๆ ก็ไม่ต้องใส่คอมม่าก็ได้ โดยที่ Coordinating conjunctions จะเชื่อมคำหรือประโยคที่มีหน้าที่แบบเดียวกัน หรือมี tense แบบเดียวกัน เรียกว่า โครงสร้างขนาน (parallel structure)
  • The children are energetic and noisy.  = adjective + adjective
  • She bought a skirt and a blouse. = noun + noun
  • He walked slowly and confidently to the witness stand.  = adverb + adverb
  • Swimming and hiking are my favorite summer activities.  = gerund + gerund

คำสันธานคู่ (ใช้โครงสร้าง Parallel เช่นกัน)

  • Both…and (ทั้ง.. และ…) + V พหูพจน์ => Both my mother and my sister are here.
  • Not only…but also (ไม่เพียง…. แต่ … ก็ด้วย) + V ตามตัวหลัง => Not only my mother but also my sister ishere.
  • Either…or (อย่างใดอย่างหนึ่ง) + V ตามตัวหลัง => I’ll take either chemistry or physics next semester.
  • Neither nor… (ไม่ทั้งคู่) + V ตามตัวหลัง => Neither my sister nor my parents are here.

Transitions

Transition ใช้ร่วมกับเครื่องหมาย “; semicolon” (หรือจะใช้เครื่องหมาย . แทนก็ได้) เพื่อบ่งบอกความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประโยคให้ชัดยิ่งขึ้น
โดยจะใช้รูปแบบ ==>  ประโยค 1 ; transitions, ประโยค2.  หรือ ประโยค 1. Transitions, ประโยค2
  • Result: as a result, consequently, therefore, thus
  • Contrast : however, on the other hand, nonetheless, nevertheless
  • Time: before that, after that, meanwhile, afterward, first
  • Addition: moreover, furthermore, in addition
  • Condition: otherwise
  • Exemplification: for example, for instance
เช่น
  • His first class begins at 8 AM; therefore, he leaves home at 7:30 AM to get there on time. <= ถ้าใช้ semicolon ก็ควรตามด้วยตัวพิมพ์เล็ก เพราะยังไม่จบประโยค
  • The tornado destroyed the entire town. However, no one was killed. <== ถ้าใช้ period. ต้องตามด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ เพราะจบประโยคแล้ว
อย่างไรก็ตาม เราสามารถโยค Transitions มาไว้ในประโยคก็ได้  แต่จะขั้นด้วย comma แทน เช่น
The president promised a quick victory. Victory, however, was not easily won.

ประโยคความซ้อน (Complex Sentence)

เป็นการรวม Independent Clause และ Dependent Clause เข้าด้วยกัน ด้วย Subordinating conjunctions เช่น Adverb Clause และ Adjective Clause

Adverb Clause

เราจะรวม Adverb Clause ซึ่งถือว่าเป็น Dependent Clause เข้ากับ Independent Clause ด้วยเครื่องหมาย “,คอมม่า”
While I was walking home, it began to rain.
หรือถ้าสับที่ ก็ไม่ต้องมีคอมม่าแล้ว => It began to rain while I was walking home,
คำที่ใช้ขึ้นต้น Adverb Clause
  • time (เวลา): before, after, as soon as, since, until, while, whenever
  • reason (เหตุผล): as, because, since
  • condition (เงื่อนไข): as if, even if, if, unless
  • contrast (ขัดแย้ง): although, even though, despite the fact that, whereas
  • purpose (บอกจุดประสงค์) : in order that, so that
  • manner : as if, as though
เช่น Although Jay has a Master’s degree, he works as a store clerk.

If Clause ประโยคเงื่อนไข

มีอยู่ 3 รูปแบบ คือ
  • เป็นไปได้จริง เป็นเหตุเป็นผล: If present simple, future simple
    • เช่น If it rains tomorrow, I will stay at home. (ถ้าฝนตก เราจะอยู่บ้าน <= เป็นเรื่องที่ทำได้)
  • บอกเรื่องที่เป็นไปได้ยาก หรือสมมติเหตุการณ์อีกแบบที่ไม่ได้เกิดขึ้น: if past simple, would + simple
    • เช่น If I were you , I would go to study abroad. (แบบนี้ จะใช้ were แทน was ด้วย แม้จะเป็นประธานเอกพจน์)
  • เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ตรงข้ามกับความจริงในในอดีต: if past perfect, would have + V3
    • เช่น If I had found her address, I would have sent her an invitation.

Adjective Clause

Adjective Clause ก็คือ Dependent Clause ที่ทำหน้าที่ขยายนาม (ซึ่งตัวมันก็คือ Adjective) ในภาษาไทยก็เทียบได้กับคำว่า ซึ่ง…. ที่….. เช่น คนที่ฉันเจอเมื่อวาน ชอบกินกบ เป็นต้น ซึ่งถ้าเรารู้วิธีใช้คำพวกนี้ เราก็จะสามารถใช้ประโยคที่ซับซ้อนขึ้นได้
คำที่สามารถใช้ได้ มีดังนี้
Relative pronouns เช่น who ใช้กับคน, which ใช้กับสิ่งของ, that ใช้ได้ทั้งคนและสิ่งของ, whose แสดงความเป็นเข้าของ, where ใช้กับสถานที่, when ใช้กับเวลา, whom ใช้กับคนที่เป็นกรรม (แต่เดี๋ยวนี้ก็ใช้ who เหมือนกัน)  เช่น
  • I thank the woman. +She helped me => I thanked the woman who helped me (ขยาย woman)
  • The book is mine + It is on the table => The book that is on the table is mine (ขยาย book)
  • I know the man + His bicycle was stolen => I know the man whose bicycle was stolen.
ถ้าใช้ which, that, who, and whom ขยายกรรมเราสามารถละที่จะไม่พูดได้ เช่น
  • The man was Mr. Jones. + I saw him. => The man who(m) I saw was Mr. Jones. => The man I saw was Mr. Jones.
ถ้าใช้ขยายกรรมที่ต่อจาก preposition เราต้องเก็บ preposition เอาไว้ด้วย เช่น
  • The music was good + We listened to it last night => The music to which we listened last night was good หรือ The music which we listened to last night was good => The music we listened to last night was good
การลดรูป Adjective Clause ( Reduced Adjective Clause)
  • ถ้ามี verb to be ให้ตัด Relative pronouns และ V to be ออกเช่น
    • The car which is left on the street is broken. (Adjective clause)
      –>The car left on the street is broken. (Adjective phrase)
    • The man, who was waiting for you, comes from Arizona.
      –>The man, waiting for you, comes from Arizona.
  • ถ้าไม่มี Verb to be ให้ตัด Relative pronouns ออกและเปลี่ยน Verb ให้เป็นรูป Ving เช่น
    • The man who came yesterday knows how to repair the faucet. ลดเป็น
      –>The man coming yesterday knows how to repair the faucet.
ในทางกลับกัน ถ้าเราเห็นประโยคที่ลดรูปไปแล้ว เราก็จะเข้าใจมากขึ้นว่ามันมาจากไหน เช่น
  • The teacher punishes anyone breaking the rules. (=…anyone who breaks rules.)
  • I live in a building having forty storeys. (=….buildingwhich has forty…)
  • The house painted in red is where John lives. (= The house which is painted in red….)
  • People invited are expected to be formally dressed for the occasion. (= People who are invited …..)

Noun Clause

Noun Clause ก็คือกลุ่มคำที่ทำหน้าที่เป็นคำนาม อาจจะใช้เป็นประธานหรือกรรมของประโยคก็ได้
Noun Clause ที่ขึ้นต้นด้วยคำสร้างคำถาม เช่น When, Where, Why, How, Who, What, Which, Whose
(สังเกตว่าจะไม่มีการสับ verb ช่วย มาไว้ข้างหน้าเหมือนประโยคคำถาม เช่น where she is. ไม่ใช่ where is she?)
  • I don’t know where she lives. (where she lives เป็น Noun clause ทำหน้าที่เป็นกรรมของกิริยา know)
  • Please tell me what happened.
  • What she said surprised me.
Noun Clause ที่ขึ้นต้นด้วย Whether หรือ if ซึ่ง ใช้เมื่อเมื่อคำตอบเป็นได้ 2 แบบ คือ ใช่ หรือ ไม่ใช่ ไม่ได้เกี่ยวกับ if clause นะครับ
  • I don’t know whether she will come[or not]. (ใช้ if แทน whether ได้เลย แต่จะออกเป็นภาษาพูดมากกว่า)
  • หรือจะสลับที่ I don’t know whether or not she will come.
Noun Clause ที่ขึ้นต้นด้วย That (เป็นแบบที่เจอบ่อยพอสมควร)
  • I think that he is a good actor (เป็นกรรม)
การแปลง Quoted Speech ==> Reported Speech
  • She said, “I watch TV every day.” ==> She said (that) she watched TV every day
    [ ต้องเปลี่ยน I ในประโยคคำพูดให้เป็น She และเปลี่ยน Tense ให้กลายเป็นเหมือน She said (Past Simple) ด้วย
    อย่างไรก็ตาม ถ้าในประโยคเป็นเรื่องจริงทั่วไป ก็ใช้เป็น Present simple ได้ เช่น She said that the world isround ]
  • She said, “Do you watch TV?” ==> She asked (me) if I watched TV.
    [เปลี่ยน said เป็น asked เนื่องจากในประโยคคำพูดเป็นการถามเรา]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น