วันพุธที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2555

Akira Yoshizawa อากิระ โยชิซาวะ นักพับกระดาษระดับโลก







Akira Yoshizawa อากิระ โยชิซาวะ นักพับกระดาษเขาคือใครAkira Yoshizawa อากิระ โยชิซาวะ

วันนี้ google doodles ขึ้นโลโก้แปลกๆมาอีกแล้ว คือโลโก้อะไรกันแน่นะ? เรามารู้จักกับประวัติของ Akira Yoshizawa อากิระ โยชิซาวะ กันนะครับ.
วันนี้เป็นวันครบรอบวันเกิดปีที่ 101 ของคุณ Akira Yoshizawa ( อากิระ โยชิซาวะ) บิดาแห่งโอริงามิ (Origami)* สมัยใหม่ Akira Yoshizawa เกิดเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2454 ในเมือง Kaminokawa ประเทศญี่ปุ่น
     Akira Yoshizawa (อากิระ โยชิซาวะ) เขาเป็นผู้ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในศิลปะการพับกระดาษ ปกติการสร้างสรรค์รูปทรงหรือวัตถุต่างๆ จากการพับกระดาษ โดยทั่วไปการพับกระดาษจะเริ่มจากกระดาษแผ่นสี่เหลี่ยม ซึ่งอาจใช้สีเดียวกัน สีต่างกัน หรือกระดาษที่มีลวดลายต่างๆ และทำการพับทบไปมาจนกลายเป็นรูปร่าง ซึ่งส่วนมากจะไม่มีการ ตัด ฉีก หรือตกแต่งอื่นๆ นอกจากกระดาษ 1 แผ่นเท่านั้น และเขาได้พัฒนารูปแบบใหม่ๆของการพับกระดาษมากกว่า 50,000 ชิ้นงาน เพื่อให้เป็นรูปแบบที่แน่นอนและถูกต้อง เขาได้ทำหนังสือรวบรวมงานของเขา ซึ่งอาจใช้เวลามากกว่า 2,000 ปี ถึงจะเสร็จ
ในปัจจุบัน โอริงามิ (Origami) รูปแบบต่างๆ ได้มีให้เห็นบ่อยตามหนังสือ นิตยสาร กระดาษห่อของ รวมไปถึงการ์ดอวยพรในงานต่างๆ โดยทั่วไปแล้ว โอริงามิ (Origami) จะต้องไม่มีการใช้กาว, การฉีก, การตัด, การตกแต่งอื่นๆนอกจากกระดาษ 1 แผ่นเท่านั้น และกระดาษนั้นต้องเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสอย่างสมบูรณ์
โอริงามิ (Origami)  คืออะไร โอริงามิ (Origami) คือศิลปะการพับกระดาษของญี่ปุ่น มาจากภาษาญี่ปุ่นซึ่งเกิดจากการผสมคำว่า “Ori” ที่แปลว่า “พับ” และคำว่า “Kami” ที่แปลว่า “กระดาษ” เมื่อเรียกกันนานๆเข้า คำศัพท์เกิดเพื้ยนไปเป็น “Origami” นั่นเองครับ

ตัวอย่าง หรืองานพับญี่ปุ่นแบบสวยๆ

โอริงามิ (Origami)

โอริงามิ (Origami) โอริงามิ (Origami) โอริงามิ (Origami)
วีดีโอการพับกระดาษแบบ Akira Yoshizawa อากิระ โยชิซาวะ
Akira Yoshizawa อากิระ โยชิซาวะ


Read more: http://www.comfixclub.com/akira-yoshizawa-%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%b4%e0%b8%a3%e0%b8%b0-%e0%b9%82%e0%b8%a2%e0%b8%8a%e0%b8%b4%e0%b8%8b%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b8%b0-%e0%b8%99%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%9e%e0%b8%b1%e0%b8%9a/#ixzz1p4brxGCi

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น