วันศุกร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2557

เทคนิค สร้างโลโก้กิจการอย่างไรให้น่าจดจำ



เทคนิค สร้างโลโก้กิจการอย่างไรให้น่าจดจำ

http: www.incquity.com



การดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจสำหรับบริษัทที่เพิ่งเปิดใหม่มักมีปัจจัยให้เจ้าของธุรกิจคิดพิจารณาอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นชื่อบริษัท ลักษณะอาคารสถานที่ หรือทำเลที่ตั้งของอาคารว่ามีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด มีที่จอดรถเพียงพอหรือไม่ รวมถึงราคาค่าเช่าสถานที่ แต่ทั้งนี้สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่เราจะลืมเสียไม่ได้เลยก็คือ "ตราสินค้า" หรือที่เรียกกันติดปากว่าิ "โลโก้ของบริษัท" นั่นเอง
โลโก้เป็นส่วนสำคัญมากเพราะเป็นหน้าเป็นตาของบริษัทนั่นเอง โลโก้คือสิ่งแรกที่ผู้บริโภคจะมองและจะอยู่คู่กับธุรกิไปโดยตลอด และนอกจากโลโก้จะถือเป็นสัญลักษณ์ทางธุรกิจ เป็นเครื่องมือทางการตลาดที่ช่วยให้ลูกค้าสามารถจดจำธุรกิจของเราได้แล้ว โลโก้ยังนำมาซึ่งการคุ้มครองทางกฎหมายซึ่งถือเป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่ผู้ใดจะมาละเมิดมิได้อีกด้วย
จะเห็นได้ว่าโลโก้นั้นมีความสำคัญมากต่อธุรกิจ และเป้าหมายจุดสูงสุดของโลโก้จึงอยู่ที่ผู้บริโภคสามารถจดจำโลโก้นั้นๆ ได้ องค์ประกอบต่างๆ ที่อยู่ในโลโก้จึงถือเป็นสิ่งสำคัญ และผู้ประกอบการควรที่จะทำความเข้าใจองค์ประกอบต่างๆให้ถี่ถ้วนและชัดเจนเสียก่อนเพื่อเลือกใช้ให้ถูกต้อง ซึ่งองค์ประกอบมีดังนี้

ขนาดถือเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกที่ควรคำนึงถึงในการออกแบบโลโก้ เพราะขนาดเป็นตัวควบคุมทุกอย่างที่จะนำมาใส่และออกแบบลงไปในพื้นที่นั้น ถ้าโลโก้มีขนาดใหญ่ ผู้บริโภคก็มีโอกาสเห็นได้ชัดเจนและสะดุดตามากยิ่งขึ้น สามารถใส่รายละเอียดข้อมูล ลูกเล่น สีสันต่างๆ ลงไปในพื้นที่ได้จำนวนมาก แต่ถ้ามองอีกมุมหนึ่งการที่โลโก้มีขนาดใหญ่จะทำให้ยากต่อการจัดพื้นที่ลงในบรรจุภัณฑ์ของสินค้า สามารถใส่รายละเอียดของสินค้าได้น้อย เช่น ข้อมูลทางโภชนาการ สถานที่ผลิต วันเดือนปีที่ผลิตและหมดอายุ รวมถึงข้อความโฆษณา อีกทั้งอาจมีปัญหาในการจัดทำตรายางในอนาคตอีกด้วย ขณะเดียวกันถ้าโลโก้มีขนาดเล็ก พื้นที่ใช้สอยภายในที่ใช้ใส่ข้อความชื่อสินค้า ภาพประกอบ การเล่นสีสัน ก็จะทำได้ในวงจำกัด ถ้าใส่มากไปก็จะดูไม่สวยงามเลอะเทอะ อ่านยาก ฉะนั้นการเลือกขนาดควรเลือกที่มีขนาดพอดี ไม่ใหญ่หรือเล็กจนเกินไป เพื่อให้เกิดดุลยภาพภายในโลโก้ และต้องจัดสมดุลให้เหมาะสม สามารถสื่อสารเข้าใจได้ก็ถือว่าใช้ได้

การใส่สีลงไปในโลโก้ถือเป็นการสื่อสารที่สามารถเรียกความสนใจและสร้างบุคลิกภาพให้กับโลโก้ได้ดีที่สุดวิธีหนึ่ง จะเห็นได้จากน้ำอัดลมสีดำสองยี่ห้อที่ต่างนำมาใส่ไว้ในโลโก้สินค้าและสร้างภาพลักษณ์ที่ใช้การอิงในสีแล้วสื่อสารให้เห็นอย่างชัดเจน จนผู้บริโภคสามารถจดจำได้ว่าน้ำอัดลมสีดำที่บรรจุใส่กระป๋องสีแดงของยี่ห้ออะไร ใส่กระป๋องสีน้ำเงินยี่ห้ออะไร เราจึงควรนำสีมาใช้ในการดึงดูดความสนใจและสร้างภาพลักษณ์ให้ผูกติดกับโลโก้ของเรา อีกทั้งยังสามารถดึงดูดความสนใจได้ดีอีกทางหนึ่งด้วย

รูปแบบตัวอักษณหรือที่เรียกว่าฟอนต์ (Font) ถือเป็นหัวใจสำคัญที่อยู่ใจกลางของโลโก้ ซึ่งจะบอกชื่อสินค้าให้กับผู้บริโภคได้รับทราบ การคัดเลือกรูปแบบตัวอักษรต้องทำให้สอดคล้องและเข้ากับภาพลักษณ์กิจการว่าดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับอะไร หรือตรงกับคอนเซ็ปต์ทางด้านภาพลักษณ์ที่ทางบริษัทได้ตั้งเอาไว้เพื่อใช้ในการสื่อสารไปยังผู้บริโภค อาทิ สวนสนุกแห่งหนึ่งย่านรังสิตเขียนชื่อสวนสนุกโดยเลือกแบบตัวอักษรที่น่ารักเป็นสีชมพู หรือร้านอาหารฟาสต์ฟูตแห่งหนึ่งจากต่างประเทศใช้ตัวอักษร M สีเหลืองเพียงตัวเดียวก็สามารถสื่อสารให้ทุกคนเข้าใจตรงกันว่าเป็นร้านอาหารชื่ออะไร เพราะเลือกใช้รูปแบบตัวอักษรที่โดดเด่นสะดุดตาและลงทุนออกแบบขึ้นมาเพื่อการนี้โดยเฉพาะ แต่ควรต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้รูปแบบตัวอักษรให้ดี เพราะรูปแบบตัวอักษรเกิดจากการประดิษฐ์ของบุคคลจึงถือเป็นทรัพย์สินทางปัญญา ผู้ที่จะใช้จึงควรทำการขออนุญาตต่อเจ้าของเสียก่อน หรือไม่ก็สามารถออกแบบขึ้นมาใหม่เองก็ได้ แล้วจึงนำไปจดลิขสิทธิ์

เราสามารถเลือกขนาดได้ตามความต้องการว่าจะให้ตัวอักษรมีความสูงขนาดไหน มีความหนาหรือเอียงมากน้อยเท่าไร ระยะห่างระหว่างตัวอักษรแค่ไหน เราสามารถกำหนดเองได้บนหลักแห่งความสวยงามสะดุดตาและดึงดูดผู้พบเห็น

ในที่นี้หมายถึงภาพถ่าย ภาพวาด และภาพกราฟฟิคที่สร้างขึ้นเอง ภาพเหล่านี้ช่วยในการเร้าอารมณ์หรือความรู้สึกให้เกิดจินตนาการตามที่ได้พบเห็น ตัวอย่างเช่น โซดายี่ห้อหนึ่งที่มีโลโก้รูปฟองอากาศหลายๆ ฟองลอยขึ้น ทำให้ผู้พบเห็นทราบและสามารถจินตนาการตามได้ในทันทีว่าโซดายี่ห้อนี้ต้องซาบซ่ามากแน่นอน ถือว่าการสื่อสารครั้งนี้ประสบความสำเร็จที่สามารถสร้างให้ผู้บริโภคสร้างจินตนาการขึ้นมาตามภาพที่เป็นสิ่งเร้าได้
ที่สุดแล้วเราจะเห็นได้ว่าองค์ประกอบต่างๆ ตามที่ได้กล่าวมาล้วนเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้การออกแบบโลโก้มีประสิทธิภาพสูงสุด นั่นก็คือสามารถสื่อสารไปยังผู้บริโภคให้สามารถจดจำโลโก้ของเราไว้ในหัวได้อย่างแม่นยำ ด้วยรูปลักษณ์ที่สะดุดตา ดึงดูดความสนใจ สวยงามเข้าใจง่าย และเร้าอารมณ์ให้เกิดจินตนาการตามที่เราต้องการ ซึ่งเราไม่จำเป็นต้องใช้องค์ประกอบครบถ้วนทั้งหมดก็ได้ เลือกนำมาใช้ตามความเหมาะสม เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการสื่อสาร ซึ่งสิ่งนั่นคือความเข้าใจและจดจำได้นั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น