หลักสูตร สถาบันสอนภาษา Lingo

วันพฤหัสบดีที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2555

Gross National Happiness ดัชนีชี้วัดความสุข


ดัชนีชี้วัดความสุข
“Gross National Happiness is more important than Gross National Product.” 
Jigme Singye Wangchuck, King of Bhutan, 1972 


Gross national happiness (GNH) ความสุขมวลรวมประชาชาติ แนวคิดที่เริ่มเสนอโดยรัฐบาลภูฐานที่จะใช้ดัชนีความสุขมวลรวมประชาชาติ วัดความเจริญก้าวหน้าในการพัฒนาประเทศของตน  แทนดัชนีผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GNP) ซึ่งวัดจากมูลค่าสินค้าและบริการโดยรวมของทั้งประเทศ  เนื่องจากพวกเขาเห็นว่ามูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ เพียงแต่สะท้อนภาพหยาบๆของสินค้าและบริการที่มีการผลิตและซื้อขายกันแต่ไม่ได้สะท้อนการพัฒนาด้านสังคมและคุณภาพชีวิตของประชาชนส่วนใหญ่ แนวคิดเรื่องดัชนีความสุขมวลรวมประชาชาติของภูฐานเสนอว่า การจะพัฒนาประเทศเพื่อเป้าหมายนี้จะต้องพิจารณาการพัฒนามนุษย์ทั้ง 4 ด้าน คือ การพัฒนาเศรษฐกิจ การอนุรักษ์สภาพแวดล้อม การส่งเสริมด้านวัฒนธรรม และการบริหารที่ดี (good governance) มุ่งเน้นการวัดความสุขที่เกิดจากจิตใจ  มิใช่ทางด้านวัตถุโดยประเทศชาติควรมองถึงคุณภาพชีวิตของประชากร  ด้านสังคม  อารมณ์  จิตใจ  สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ  และวัฒนธรรมประเพณีมากกว่าการบริโภคการจับจ่ายใช้สอยในประเทศเพียงอย่างเดียว 

เหตุผลคือการอธิบายถึงต้นทุนของ  GDP  ที่เพิ่มขึ้น  การเพิ่มขึ้นของ GDP  นั้นมาจากการวัดมูลค่าผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ  ซึ่งการผลิตสินค้าชนิดหนึ่ง นั้นจะเป็นส่วนหนึ่งในมูลค่าผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ  แต่การที่ GDP  เพิ่มขึ้นนั้นไม่ได้หมายความว่าประเทศชาติจะพัฒนาขึ้นตาม  ในทางกลับกันสินค้าที่เพิ่มขึ้นนั้นอาจนำมาซึ่งความเสียหาย  และสูญค่าของประชาชาติก็ได้  อาทิ  การผลิตสุราของมึนเมาเพิ่มขึ้นนั้น  ต้นทุนของมันอาจนำมาสู่  การทำผิดกฎหมาย  การฆาตกรรม  การทำผิดศีลธรรมต่าง ก็เป็นได้  ซึ่ง GDP  ไม่ได้สนใจในเรื่องนี้  GDP  มุ่งที่จะวัดแต่การผลิตที่เพิ่มขึ้นของสินค้า  ไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นของสินค้าที่มีต่อประเทศชาติ  ดังนั้น GDP  เพียงบอกได้แต่ว่าประเทศชาติมีการผลิตเท่าไร  แนวโน้มเป็นอย่างไรแต่ไม่สามารถบอกได้ว่าประชาชนในประเทศอยู่ดีกินดี มีความสุขเสรีภาพตามมาตรฐานมากน้อยเพียงใด  จึงได้เกิดแนวความคิดในการที่จะวัดความกินดีอยู่ดีในประเทศชาติขึ้นมาซึ่ง GNH



credit: witayakornclub, ocsc.go.th,

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น