10 วิธีง่ายๆ ในการเป็นคน คิดบวก
www.postjung.com
10 วิธีง่าย ๆ ฝึกตัวเองให้เป็นคนคิดบวก
1. ไม่ทำตัวโลกสวยเกินไป
การคิดบวกและการมองโลกในแง่ดีในที่นี้ไม่หมายความว่าให้เราทำตัวโลกสวย มองอะไรโรยด้วยกลีบกุหลาบไปทุกอย่าง แต่เป็นการปรับมุมมองของเรา อะไรที่คิดติดลบมากเกินไปก็ปรับให้เป็นกลางขึ้นหน่อย และอะไรที่คิดบวกมากเกินไปก็ปรับให้พอดีขึ้น ยกตัวอย่างเช่น หากเรามีคนเข้ามาจีบ เราก็อย่าเพิ่งมองโลกในแง่ดีว่าเขาเป็นคนดี จริงใจกับเรา ให้เผื่อใจเอาไว้บ้าง เป็นต้น
การคิดบวกและการมองโลกในแง่ดีในที่นี้ไม่หมายความว่าให้เราทำตัวโลกสวย มองอะไรโรยด้วยกลีบกุหลาบไปทุกอย่าง แต่เป็นการปรับมุมมองของเรา อะไรที่คิดติดลบมากเกินไปก็ปรับให้เป็นกลางขึ้นหน่อย และอะไรที่คิดบวกมากเกินไปก็ปรับให้พอดีขึ้น ยกตัวอย่างเช่น หากเรามีคนเข้ามาจีบ เราก็อย่าเพิ่งมองโลกในแง่ดีว่าเขาเป็นคนดี จริงใจกับเรา ให้เผื่อใจเอาไว้บ้าง เป็นต้น
2. ไม่ตัดสินอะไรง่าย ๆ เพียงแค่ตาเห็น
การเริ่มต้นคิดบวกควรมาจาก ความคิดที่เป็นกลาง ดังนั้นเวลาที่เห็นอะไรไม่ถูกใจ ก็อย่าเพิ่งเหมารวมไม่ว่ามันไม่ดี ให้เข้าใจไปตามสิ่งที่เห็นอย่าใส่ความรู้สึกส่วนตัว อย่าลืมว่าการคิดบวกไม่มีถูกผิดนะจ๊ะ
3. ผูกมิตรกับเพื่อนที่นิสัยร่าเริง คิดบวกเข้าไว้
ความรู้สึกที่ดี จะนำมาซึ่งความคิดดี ๆ ดังนั้นควรมองหามิตรแท้ที่นิสัยร่าเริงแจ่มใสไว้สักคน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดด้านดี หากอยู่กับคนซีเรียส จริงจังกับชีวิตมากไป เราก็คิดบวกไม่ได้สักที จากผลการวิจัยส่วนใหญ่เผยว่า ความเครียดเป็นอารมณ์ติดต่อจากอีกคนหนึ่งได้ โดยที่ตัวเรามักไม่รู้ตัวเลยว่าทัศนคติของตัวเองจะค่อย ๆ เปลี่ยนไปทีละนิด จนกระทั่งพฤติกรรมแสดงออกมาอย่างชัดเจนว่านิสัยเปลี่ยนไป ดังนั้นหากอยากเริ่มเป็นคนคิดบวก ก็ให้เดินเข้าไปผูกมิตรกับคนที่มองโลกในแง่ดี เพราะคนเหล่านั้นจะมีมุมมองความคิดที่เปิดกว้างกว่าพวกซีเรียส จริงจังกับชีวิต
4. หมั่นคุยกับตัวเอง
คนที่คิดบวกมักจะคุยกับตัวเองอยู่เสมอ ในที่นี้หมายถึงการพิจารณาตัวเองว่ามีด้านลบกับเรื่องอะไร แล้วในแต่ละวันรู้สึกแย่อะไรบ้าง เมื่อเขาเรียงลำดับความคิดด้านลบได้ ก็จะทำการเปลี่ยนมุมมองความคิดใหม่ บอกกับตัวเองว่าพรุ่งนี้ต้องมองโลกในแง่ดีมากขึ้นกว่าเดิม และฝึกพูดประโยคเชิงบวก เช่น ฉันสามารถเรียนรู้ได้ ฉันจะต้องลองทำดูก่อน หรือ ฉันคิดว่าปัญหานี้ต้องมีทางออก เป็นต้น
5. เขียนถึงสิ่งดี ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน
เป็นวิธีที่จะช่วย เปลี่ยนแปลงให้กลายเป็นคนมองโลกในแง่ดีมากขึ้น เพียงแค่สละเวลา 5 นาทีก่อนนอน ทบทวนถึงเหตุการณ์ที่ตัวเองคิดว่าดีที่สุด แล้วเขียนบันทึกลงไปสั้น ๆ เช่น วันนี้จับฉลากปีใหม่ได้ของที่อยากได้อยู่พอดี เป็นต้น จากผลการวิจัยที่ถูกตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Research in Personality เผยว่า การเขียนบันทึกส่งผลดีต่อสุขภาพของเรา โดยเฉพาะการบันทึกประสบการณ์ที่ดี ๆ เพราะเมื่อไรที่เราเขียนบันทึกเรื่องราวลงบนหน้ากระดาษได้ ก็แสดงว่าสมองของเรามีการจดจำแต่สิ่งที่ดี ๆ แล้วยิ่งถ้าจดบันทึกเป็นประจำทุกวัน สมองของเราก็จะเก็บเกี่ยวเรื่องราวดี ๆ เอาไว้เพื่อมาเขียนบันทึกโดยอัตโนมัติเลยล่ะ
6. หัวเราะ
หลายคนไม่เคยสังเกตตัวเองว่าวันหนึ่ง ๆ หัวเราะมากน้อยเท่าไร ทั้งที่ความจริงแล้วการหัวเราะเป็นสิ่งที่สะท้อนอารมณ์ได้ดีว่ากำลังมีความ สุขอยู่หรือไม่ อีกทั้งยังเป็นการปรับอารมณ์ด้านลบให้ดีขึ้นด้วย ดังนั้น ถ้าหากงานเครียดมากทั้งวัน ลองสละเวลาสัก 20 นาทีให้กับสิ่งบันเทิงเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น หนังตลก หนังสือการ์ตูน พูดคุยกับเพื่อนสนิท วาดภาพ ร้องเพลง เป็นต้น หากทำให้ได้ทุกวันแบบนี้รับรองว่าความเครียดไม่สะสมอยู่ในจิตใจแน่นอน
7. นั่งสมาธิ
ผลการวิจัยล่าสุดเผยว่า คนที่นั่งสมาธิเป็นประจำทุกวันมีแนวโน้มเป็นคนมองโลกในแง่ดีมากกว่าคนที่ไม่ เคยนั่งเลย ส่วนหนึ่งมาจากประโยชน์ของการนั่งสมาธินั่นเอง เพราะการนั่งสมาธิเป็นการฝึกจิตใจให้ปล่อยวางความคิด ฝึกสมองไม่ให้คิดฟุ้งซ่าน เราก็จะรู้ทันอารมณ์ของตัวเองว่ากำลังสุขหรือทุกข์ และถ้านั่งสมาธิเป็นประจำทุกวันร่างกายและจิตใจของเราก็จะไม่เก็บอารมณ์แย่ ๆ หรือเรื่องราวไม่ดีมาจำฝังใจ ผลคือเรามีความสุข จิตใจแจ่มใส นั่นเอง ดังนั้นลองทำดูนะคะ สละเวลาวันละ 5-10 นาทีก็ยังดี ใครที่ไม่ถนัดการนั่งสมาธิก็ใช้วิธีทำโยคะก็ได้
8. เปลี่ยนนิสัยเป็นคนยืดหยุ่น ออมชอมกับผู้อื่นให้มากขึ้น
การจะ เปลี่ยนตัวเองให้คิดบวกได้ ส่วนหนึ่งต้องเริ่มมาจากตัวเองเสียก่อน คือ เปลี่ยนความคิดที่ทุกอย่างต้องเป๊ะ มาเป็นคิดยืดหยุ่นบ้าง เพราะความคาดหวังคือสิ่งอาจทำให้เราเสียใจ มองโลกในแง่ร้ายขึ้นมาได้ ดังนั้นลองฝึกให้ตัวเองมีความคิดที่ยืดหยุ่นบ้าง จะได้ไม่รู้สึกเครียดว่าอะไร ๆ ก็ไม่ได้ดั่งใจ
9. อย่ากังวลกับสิ่งที่ยังไม่เกิด
ความกลัวก็เป็นอุปสรรคที่ทำให้เรา มองโลกในแง่ดีไม่ได้ เพราะสมองยังยึดติดอยู่กับความรู้สึกที่ว่า “กลัวว่าจะ…” ทั้งที่ความจริงอาจจะไม่เกิดตามที่เราคิดก็ได้ ดังนั้นเปลี่ยนความคิดของตัวเองให้ปล่อยวางกับเรื่องราวต่าง ๆ มากขึ้น อะไรจะเกิดก็ต้องเกิด
10. ฝึกตัวเองให้ยิ้มง่ายขึ้น
การยิ้มเป็นสิ่งพื้นฐานที่ช่วยให้ตัว เราเองรู้สึกมีความสุข ดังนั้นไม่ว่าจะมีเรื่องที่ทำให้ยิ้มไม่ออกก็ตาม ยังไงก็ขอให้ยิ้มแย้มเอาไว้ก่อน แทนที่จะระบายด้วยการปล่อยคำพูดแย่ ๆ ออกมา
การเริ่มต้นคิดบวกควรมาจาก ความคิดที่เป็นกลาง ดังนั้นเวลาที่เห็นอะไรไม่ถูกใจ ก็อย่าเพิ่งเหมารวมไม่ว่ามันไม่ดี ให้เข้าใจไปตามสิ่งที่เห็นอย่าใส่ความรู้สึกส่วนตัว อย่าลืมว่าการคิดบวกไม่มีถูกผิดนะจ๊ะ
3. ผูกมิตรกับเพื่อนที่นิสัยร่าเริง คิดบวกเข้าไว้
ความรู้สึกที่ดี จะนำมาซึ่งความคิดดี ๆ ดังนั้นควรมองหามิตรแท้ที่นิสัยร่าเริงแจ่มใสไว้สักคน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดด้านดี หากอยู่กับคนซีเรียส จริงจังกับชีวิตมากไป เราก็คิดบวกไม่ได้สักที จากผลการวิจัยส่วนใหญ่เผยว่า ความเครียดเป็นอารมณ์ติดต่อจากอีกคนหนึ่งได้ โดยที่ตัวเรามักไม่รู้ตัวเลยว่าทัศนคติของตัวเองจะค่อย ๆ เปลี่ยนไปทีละนิด จนกระทั่งพฤติกรรมแสดงออกมาอย่างชัดเจนว่านิสัยเปลี่ยนไป ดังนั้นหากอยากเริ่มเป็นคนคิดบวก ก็ให้เดินเข้าไปผูกมิตรกับคนที่มองโลกในแง่ดี เพราะคนเหล่านั้นจะมีมุมมองความคิดที่เปิดกว้างกว่าพวกซีเรียส จริงจังกับชีวิต
4. หมั่นคุยกับตัวเอง
คนที่คิดบวกมักจะคุยกับตัวเองอยู่เสมอ ในที่นี้หมายถึงการพิจารณาตัวเองว่ามีด้านลบกับเรื่องอะไร แล้วในแต่ละวันรู้สึกแย่อะไรบ้าง เมื่อเขาเรียงลำดับความคิดด้านลบได้ ก็จะทำการเปลี่ยนมุมมองความคิดใหม่ บอกกับตัวเองว่าพรุ่งนี้ต้องมองโลกในแง่ดีมากขึ้นกว่าเดิม และฝึกพูดประโยคเชิงบวก เช่น ฉันสามารถเรียนรู้ได้ ฉันจะต้องลองทำดูก่อน หรือ ฉันคิดว่าปัญหานี้ต้องมีทางออก เป็นต้น
5. เขียนถึงสิ่งดี ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน
เป็นวิธีที่จะช่วย เปลี่ยนแปลงให้กลายเป็นคนมองโลกในแง่ดีมากขึ้น เพียงแค่สละเวลา 5 นาทีก่อนนอน ทบทวนถึงเหตุการณ์ที่ตัวเองคิดว่าดีที่สุด แล้วเขียนบันทึกลงไปสั้น ๆ เช่น วันนี้จับฉลากปีใหม่ได้ของที่อยากได้อยู่พอดี เป็นต้น จากผลการวิจัยที่ถูกตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Research in Personality เผยว่า การเขียนบันทึกส่งผลดีต่อสุขภาพของเรา โดยเฉพาะการบันทึกประสบการณ์ที่ดี ๆ เพราะเมื่อไรที่เราเขียนบันทึกเรื่องราวลงบนหน้ากระดาษได้ ก็แสดงว่าสมองของเรามีการจดจำแต่สิ่งที่ดี ๆ แล้วยิ่งถ้าจดบันทึกเป็นประจำทุกวัน สมองของเราก็จะเก็บเกี่ยวเรื่องราวดี ๆ เอาไว้เพื่อมาเขียนบันทึกโดยอัตโนมัติเลยล่ะ
6. หัวเราะ
หลายคนไม่เคยสังเกตตัวเองว่าวันหนึ่ง ๆ หัวเราะมากน้อยเท่าไร ทั้งที่ความจริงแล้วการหัวเราะเป็นสิ่งที่สะท้อนอารมณ์ได้ดีว่ากำลังมีความ สุขอยู่หรือไม่ อีกทั้งยังเป็นการปรับอารมณ์ด้านลบให้ดีขึ้นด้วย ดังนั้น ถ้าหากงานเครียดมากทั้งวัน ลองสละเวลาสัก 20 นาทีให้กับสิ่งบันเทิงเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น หนังตลก หนังสือการ์ตูน พูดคุยกับเพื่อนสนิท วาดภาพ ร้องเพลง เป็นต้น หากทำให้ได้ทุกวันแบบนี้รับรองว่าความเครียดไม่สะสมอยู่ในจิตใจแน่นอน
7. นั่งสมาธิ
ผลการวิจัยล่าสุดเผยว่า คนที่นั่งสมาธิเป็นประจำทุกวันมีแนวโน้มเป็นคนมองโลกในแง่ดีมากกว่าคนที่ไม่ เคยนั่งเลย ส่วนหนึ่งมาจากประโยชน์ของการนั่งสมาธินั่นเอง เพราะการนั่งสมาธิเป็นการฝึกจิตใจให้ปล่อยวางความคิด ฝึกสมองไม่ให้คิดฟุ้งซ่าน เราก็จะรู้ทันอารมณ์ของตัวเองว่ากำลังสุขหรือทุกข์ และถ้านั่งสมาธิเป็นประจำทุกวันร่างกายและจิตใจของเราก็จะไม่เก็บอารมณ์แย่ ๆ หรือเรื่องราวไม่ดีมาจำฝังใจ ผลคือเรามีความสุข จิตใจแจ่มใส นั่นเอง ดังนั้นลองทำดูนะคะ สละเวลาวันละ 5-10 นาทีก็ยังดี ใครที่ไม่ถนัดการนั่งสมาธิก็ใช้วิธีทำโยคะก็ได้
8. เปลี่ยนนิสัยเป็นคนยืดหยุ่น ออมชอมกับผู้อื่นให้มากขึ้น
การจะ เปลี่ยนตัวเองให้คิดบวกได้ ส่วนหนึ่งต้องเริ่มมาจากตัวเองเสียก่อน คือ เปลี่ยนความคิดที่ทุกอย่างต้องเป๊ะ มาเป็นคิดยืดหยุ่นบ้าง เพราะความคาดหวังคือสิ่งอาจทำให้เราเสียใจ มองโลกในแง่ร้ายขึ้นมาได้ ดังนั้นลองฝึกให้ตัวเองมีความคิดที่ยืดหยุ่นบ้าง จะได้ไม่รู้สึกเครียดว่าอะไร ๆ ก็ไม่ได้ดั่งใจ
9. อย่ากังวลกับสิ่งที่ยังไม่เกิด
ความกลัวก็เป็นอุปสรรคที่ทำให้เรา มองโลกในแง่ดีไม่ได้ เพราะสมองยังยึดติดอยู่กับความรู้สึกที่ว่า “กลัวว่าจะ…” ทั้งที่ความจริงอาจจะไม่เกิดตามที่เราคิดก็ได้ ดังนั้นเปลี่ยนความคิดของตัวเองให้ปล่อยวางกับเรื่องราวต่าง ๆ มากขึ้น อะไรจะเกิดก็ต้องเกิด
10. ฝึกตัวเองให้ยิ้มง่ายขึ้น
การยิ้มเป็นสิ่งพื้นฐานที่ช่วยให้ตัว เราเองรู้สึกมีความสุข ดังนั้นไม่ว่าจะมีเรื่องที่ทำให้ยิ้มไม่ออกก็ตาม ยังไงก็ขอให้ยิ้มแย้มเอาไว้ก่อน แทนที่จะระบายด้วยการปล่อยคำพูดแย่ ๆ ออกมา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น