หลักสูตร สถาบันสอนภาษา Lingo

วันพฤหัสบดีที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ทำไม? "นักบิน-แอร์" จึงเสี่ยง 2 เท่า ต่อการเป็น"มะเร็งผิวหนัง"

ทำไม? "นักบิน-แอร์" จึงเสี่ยง 2 เท่า ต่อการเป็น"มะเร็งผิวหนัง"

http://campus.sanook.com/





ผลการวิจัยตีพิมพ์ลงในวารสารสมาคมแพทย์โรคผิวหนังอเมริกัน เผยแพร่เมื่อเร็วๆ นี้ ระบุว่าผู้ที่ทำงานเป็น และพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคผิวหนังมากกว่าคนทั่วไปถึง 2 เท่า
งานวิจัยดังกล่าวเป็นการวิเคราะห์รวบรวมงานศึกษาวิจัยจำนวน 19 ชิ้น ที่มีกลุ่มตัวอย่างมากกว่า 266,000 คน พบว่าอัตราการเป็นโรคมะเร็งผิวหนังของนักบินมีสูงกว่าบุคคลที่ใช้ชีวิตธรรมดาทั่วไปราว 2.21 ถึง 2.22 เท่าตัว ขณะที่พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินจะสูงกว่าคนทั่วไปอยู่ราว 2.09 หรือคิดเป็นอัตราเฉลี่ยราว 2 เท่าของคนทั่วๆ ไป โดยรายงานระบุว่าอัตราการเกิดโรคดังกล่าวเกี่ยวข้องกับรังสีอัลตราไวโอเลตที่เล็ดลอดผ่านหน้าต่างห้องนักบิน และหน้าต่างตัวเครื่องเข้ามาภายใน ขณะที่เครื่องบินบินอยู่ในระดับสูง
นักวิจัยระบุว่า ระดับความเข้มข้นของรังสีอัลตราไวโอเลตในระดับความสูง 30,000 ฟุตเหนือระดับน้ำทะเล ซึ่งเป็นระดับความสูงที่เครื่องบินโดยสารส่วนใหญ่ใช้บินนั้นจะมีอันตรายกว่าบนพื้นผิวโลกถึง 2 เท่า และระดับความเข้มข้นนั้นจะยิ่งสูงขึ้นไปอีกในกรณีที่เครื่องบินบินผ่านกลุ่มเมฆหนาซึ่งส่งผลให้แสงแดดสะท้อนเข้ามาในตัวเครื่องบินเพิ่มมากขึ้นถึง 85 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ จากผลการวิจัยดังกล่าวนักวิจัยระบุว่า แม้ว่ากลุ่มอาชีพนักบินและพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินจะทราบดีถึงความเสี่ยงในการทำงานเกี่ยวกับรังสีไอออนไนซ์
แต่อันตรายซึ่งเกิดจากรังสีอัลตราไวโอเลตนั้นยังไม่ได้รับการยอมรับกันว่าเป็นความเสี่ยงของงานอาชีพที่ต้องทำงานบนเครื่องบิน
อนึ่งในปีนี้ ในสหรัฐอเมริกาพบผู้ป่วยเป็นมะเร็งผิวหนัง หรือเมลาโนมา มากถึง 76,000 ราย โดยมีผู้ที่อาการหนักจนคาดว่าจะเสียชีวิตเพราะโรคนี้มากถึง 9,710 ราย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น