หลักสูตร สถาบันสอนภาษา Lingo

วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

Stop Violence Against Women Day: 25 November




ที่มา:

UN เปิดโครงการชายไม่ทำร้ายสตรี (เว็บไซต์ไทยรัฐ, 26 พ.ย. 2552)
เตือนหญิงระวังภัยในที่ทำงาน(เว็บไซต์ข่าวสด, 30 พ.ย. 2547)

The United Nations General Assembly has designated November 25 as the International Day for the Elimination of Violence Against Women ( The premise of the day is to raise awareness of the fact that women around the world are subject to rapedomestic violence and other forms of violence; furthermore, one of the aims of the day is to highlight that the scale and true nature of the issue is often hidden. For 2013, the official Theme framed by the UN Secretary-General’s campaign UNiTE to End Violence against Women, is Orange the World in 16 Days 

Unite
As part of this initiative UNITE has proclaimed the 25th of every month as Orange Day. This initiative aims to raise awareness about the issue of violence against women and girls, not only once a year on 25 November (the International Day to End Violence against Women), but every month! UNiTE is asking supporters to wear orange every 25th of the month, share posts & tweet about the Day and to use and share the photo of the UNiTE Ribbon -- the new symbol for ending violence against women and girls.




ขบวนการแรงงานโลกรณรงค์หยุดความรุนแรงต่อผู้หญิง ด้าน UN ผลักดันโครงการชายหยุดทำร้ายหญิง พบการคุกคามทางเพศในที่ทำงานกำลังเป็นเทรนด์ใหม่ของประเด็นกดขี่ทางเพศ จากข้อมูลของ ILO 
ผู้หญิงในยุโรป 40-50 % แจ้งว่าถูกคุกคามทางเพศในบางลักษณะในที่ทำงาน
ขบวนการแรงงานโลกรณรงค์หยุดความรุนแรงต่อผู้หญิง
เนื่องด้วยเมื่อวันที่ 25 พ.ย. ที่ผ่านมาเป็นวัน “ยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง” หลายองค์กรมีกิจกรรมการเคลื่อนไหวต่างๆ กันออกไปโดยเฉพาะขบวนการแรงงานที่มีการรณรงค์เรื่องนี้อย่างแข็งขัน
ที่บรัสเซล, สหพันธ์แรงงานนานาชาติ (International Trade Union Confederation: ITUC) และองค์กรเครือข่าย ได้จัดกิจกรรม “ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก” และเพื่อระดมกำลังต่อต้านความรุนแรงแก่เด็กและสตรีทั่วโลก
“ความรุนแรงต่อผู้หญิงในที่ทำงานถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ของสังคม สหภาพแรงงานจะต้องทำการรณรงค์เพื่อยุติสิ่งนี้ทั้งในที่ทำงานและในชุมชน” กาย รีดเดอร์ เลขาธิการของ ITUC กล่าว
ประมาณการกันว่าหนึ่งในสามของผู้หญิงทั้งหมดเคยตกเป็นเหยื่อของความรุนแรง บางส่วนถูกความรุนแรงจากการข่มขืน หรือถูกพยายามข่มขืน ผู้หญิงอายุ 15-44 ปี มีความเสี่ยงมากที่จะเสียชีวิตและพิการ จากความรุนแรงในครอบครัว โรคมะเร็ง, อุบัติเหตุทางถนน, สงคราม และโรคมาลาเรีย โดยในแต่ละปีมีเด็กหญิง อายุระหว่าง 5-15 ปี ถูกกดขี่ทางเพศ ประมาณ 2 ล้านคน
นอกจากนี้ผู้หญิงในภาคเศรษฐกิจต่างๆ มีประสบการณ์ความรุนแรงในชีวิตการทำงานของพวกเธอ จากการทำงานในโรงงาน ภาคการผลิต, ภาคการเกษตร และอุตสาหกรรมการพยาบาล ในขณะที่การล่วงละเมิดทางเพศยังคงเป็นปัญหาร้ายแรงในทุกส่วนของโลก
ส่วนที่สิงคโปร์ นักสหภาพแรงงานหญิงจากบังกลาเทศ, อินเดีย, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, มองโกเลีย, ศรีลังกา, ไทย และสิงคโปร์ ได้ร่วมกันประชุมและรณรงค์ประเด็นการยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง ภายใต้การสนับสนุนของ ITF (สหพันธ์แรงงานภาคการขนส่งนานาชาติ) และมูลนิธิ Friedrich Ebert Stiftung เมื่อวันที่ 23 – 24 พ.ย. ที่ผ่านมา
อลิสัน แม็คแกรี่ จาก ITF กล่าวว่า นี่เป็นอีกครั้งที่สมาชิกของ ITF ทั้งหญิงและชาย ทั่วโลกจะจัดกิจกรรม เพื่อที่จะแสดงให้เห็นว่า การกระทำรุนแรงต่อรุนแรงต่อผู้หญิง เป็นสิ่งที่สังคมไม่สามารถยอมรับได้ และสหภาพแรงงาน จะต้องมีการพัฒนาแผนการ และการปฏิบัติการเพื่อต่อต้านความรุนแรงในที่ทำงาน และทำให้นายจ้าง จัดสภาพแวดล้อมในการ ทำงานที่ปลอดภัยให้กับผู้หญิง


UN ผลักดันโครงการชายหยุดทำร้ายหญิง
ด้านนายบัน กี มูน เลขาธิการสหประชาชาติ ออกแถลงการณ์ที่สำนักงานสหประชาชาติในนครนิวยอร์กของสหรัฐฯ ประกาศการจัดตั้ง "เครือข่ายผู้นำชาย" เนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปี วันยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง โดยผู้ที่ได้รับเลือกจะต้องทำหน้าที่กระตุ้นให้ผู้ชายทั่วโลกยุติการใช้ความรุนแรงต่อเพศหญิง ทั้งเด็กและผู้ใหญ่
นายบัน กี มูน กล่าวว่า ในเบื้องต้นเครือข่ายดังกล่าวมีผู้ได้รับคัดเลือกเป็นสมาชิกแล้ว 13 คน เช่น นายโฮเซ หลุยส์ โรดริเกซ ซาปาเตโร นายกรัฐมนตรีสเปน นายฟรังโก ฟรัตตินี รมว.ต่างประเทศอิตาลี อาร์กบิชอปเดสมอนด์ ตูตูแห่งแอฟริกาใต้ รวมถึงนายเปาโล โคเอลโญ นักเขียนชื่อดังชาวบราซิล ฯลฯ ทุกรายได้รับเลือกเพราะปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างในการต่อต้านการใช้ความรุนแรงต่อสตรี ทั้งนี้ ตนคาดว่าเครือข่ายดังกล่าวจะขยายตัวกลางขึ้นในอนาคตแน่นอนซึ่งสำหรับสมาชิก 13 รายนี้ ทางสหประชาชาติมีแผนจะมอบเงินรางวัลให้คิดเป็นมูลค่ารวม 10.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
นอกจากนี้ เลขาธิการสหประชาชาติยังกล่าวว่า ปัญหาการใช้ความรุนแรงแก่สตรียังคงมีอยู่มาก ซึ่งเป็นเรื่องน่าตกใจและยอมรับไม่ได้อย่างยิ่งที่ผลสำรวจล่าสุดชี้ว่าสตรีทั่วโลกถึง 70 เปอร์เซ็นต์ ยังคงตกเป็นเหยื่อถูกสามี แฟน หรือคนใกล้ชิด กระทำทารุณกรรมทางร่างกายและทางเพศ และปัญหานี้จะไม่หายไปหากผู้ชายทุกคนยังขาดความสำนึก

การคุกคามทางเพศในที่ทำงาน
จากข้อมูลของ ILO พบว่าในช่วงทศวรรษที่แล้วการแพร่ขยายและผลเสียของการคุกคามทางเพศซึ่งเป็นการเลือกปฏิบัติทางเพศรูปแบบหนึ่งนั้นได้กลายเป็นปัญหาที่กำลังลุกลามในระดับชาติและนานาชาติ ILO นิยามการคุกคามทางเพศว่าเป็นพฤติกรรมทางเพศอย่างหนึ่งซึ่งน่ารังเกียจและเป็นการละเมิดต่อผู้ถูกกระทำ โดยการคุกคามทางเพศต้องมีลักษณะสองประการนี้
1) การแลกประโยชน์กัน กล่าวคือมีการให้ผลประโยชน์เรื่องงาน เช่น การขึ้นค่าตอบแทน การเลื่อนตำแหน่งขึ้น หรือแม้แต่การจ้างงานต่อไป ถ้าเหยื่อยอมมีพฤติกรรมทางเพศบางอย่างตามที่ต้องการ
2) การสร้างสภาพการทำงานที่ไม่เป็นมิตรซึ่งทำให้เกิดเหตุที่คุกคามเหยื่อหรือทำให้เหยื่ออับอาย
โดยพฤติกรรมที่ถือเป็นการคุกคามทางเพศคือ
ทางกาย ใช้ความรุนแรงทางกาย สัมผัส เข้าใกล้ชิดโดยไม่จำเป็น
ทางวาจา ออกความเห็นหรือถามคำถามเกี่ยวกับรูปโฉม วิถีชีวิต รสนิยมทางเพศ การละเมิด
ด้วยการติดต่อทางโทรศัพท์
การไม่ใช้วาจา ผิวปาก แสดงท่าทางที่สื่อความหมายทางเพศ แสดงวัตถุทางเพศ
• ผลการสำรวจซึ่งพิมพ์เผยแพร่ในฮ่องกงเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ทำให้ทราบว่าผู้ทำงานที่ถูกสัมภาษณ์เกือบร้อยละ 25 เคยถูกคุกคามทางเพศและบุคคลเหล่านี้หนึ่งในสามเป็นผู้ชาย ลูกจ้างที่เป็น ผู้ชายรายงานความคับข้องใจของตนเพียงร้อยละ 6.6 เท่านั้น (ขณะที่ผู้หญิงรายงานร้อยละ 20) เนื่องจากพวกเขาไม่อยากถูกหัวเราะเยาะ
• รายงานปี 2547 ที่อิตาลีระบุว่า ผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 14 ถึง 59 ปีร้อยละ 55.4 ระบุว่าเคยตกเป็นเหยื่อของการคุกคามทางเพศ ลูกจ้างผู้หญิงหนึ่งในสามต้องยอมถูกคุกคามทางเพศเพื่อแลกกับความก้าวหน้าทางอาชีพ ร้อยละ 65 ถูกผู้คุกคามคนเดิมซึ่งมักเป็นเพื่อนร่วมงานหรือเจ้านายข่มขู่ให้ทำตามที่ต้องการทุกสัปดาห์ นอกจากนี้ผู้หญิงที่ถูกคุกคามทางเพศร้อยละ 55.6 ต้องลาออกจากงาน
• ในสหภาพยุโรปผู้หญิงร้อยละ 40-50 แจ้งว่าถูกคุกคามทางเพศในบางลักษณะในที่ทำงาน
• ในการสำรวจของคณะกรรมการโอกาสที่เท่าเทียมกันแห่งออสเตรเลียเมื่อปี 2547 นั้น ร้อยละ 18 ของผู้ถูกสัมภาษณ์ซึ่งมีอายุตั้งแต่ 18 ถึง 64 ปีกล่าวว่าเคยถูกคุกคามทางเพศในที่ทำงาน ในบรรดาผู้ถูกคุกคามทางเพศร้อยละ 62 ถูกคุกคามทางกาย และผู้ที่คิดจะร้องเรียนเรื่องการถูกคุกคามมีไม่ถึงร้อยละ 37
• ผลการวิจัยพบว่าผู้หญิงที่มักถูกคุกคามทางเพศมากที่สุดคือหญิงสาวที่ต้องพึ่งพาผู้อื่นเรื่องการเงิน อาจเป็นโสดหรือหย่าแล้ว และมีสถานะเป็นผู้ย้ายถิ่น ผู้ชายที่มักถูกคุกคามมากที่สุดคือชายหนุ่มที่เป็นพวกรักร่วมเพศ และเป็นชนกลุ่มน้อยทางเชื้อชาติหรือเผ่าพันธุ์
• การคุกคามทางเพศระหว่างบุคคลเพศเดียวกันเป็นเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่นานแต่กำลังเกิดมากขึ้น
 สำหรับประเทศไทย จากข้อมูลโครงการวิจัยและรณรงค์เพื่อสตรี ปี 2547 พบว่ากรณีการคุกคามทางเพศในที่ทำงานที่พบมากที่สุดคือ การคุกคามแบบแลกกับผลประโยชน์ 36 กรณี โดยเป็นการข่มขืนและทำร้ายทางเพศ 13 กรณี การคุกคามทางกาย เช่น จับหน้าอก จับก้น จับขา หอมแก้ม จูบปาก 19 กรณี การคุกคามทางวาจา 1 กรณี และการคุกคามอื่นๆ เช่น ถ่ายรูปหน้าอก การใช้เงื่อนไขว่าจะไม่ต่อวีซ่าให้เป็นเครื่องต่อรอง 3 กรณี และการคุกคามอีกแบบคือ การสร้างสภาพการทำงานที่เป็นปฏิปักษ์หรือไม่เป็นมิตร 19 กรณี โดยเป็นการข่มขืนและทำร้ายทางเพศ 6 กรณี คุกคามทางกาย เช่น แอบดูในห้องน้ำ ใช้นิ้วกระแทกก้น 10 กรณี การคุกคามทางวาจา เช่น พูดลวนลาม ชวนมีเพศสัมพันธ์ 3 กรณี ซึ่งมีทั้งในหน่วยงานราชการระดับ ผอ.ไปจนถึงอธิบดี หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และภาคแรงงาน
การพิจารณาคดีการคุกคามทางเพศ
ทั้งนี้ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในหลายประเทศทำให้ทราบว่า การแก้ปัญหาการคุกคามทางเพศในที่ทำงานที่ได้ผลนั้นต้องใช้กรอบกฎหมายหลายอย่างตลอดจนการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดขึ้น สถาบันต่างๆ ต้องได้รับเงินสนับสนุนอย่างพอเพียง และต้องให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหานี้มากขึ้น ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของพัฒนาการต่างๆ เกี่ยวกับการแก้ปัญหาการคุกคามทางเพศรัฐบาลในหลายประเทศได้ใช้ข้อกฎหมายอย่างเหมาะสมเพื่อพยายามแก้ปัญหาการคุกคามทางเพศในที่ทำงานดังนี้
กฎหมายอาญา อินเดีย แทนซาเนีย
ประมวลกฎหมายแรงงาน ไทย ชิลี
กฎหมายเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศโดยเฉพาะ บราซิล เบลีซ ฟิลิปปินส์ อิสราเอล
กฎหมายเกี่ยวกับความเท่าเทียมกันและการเลือกปฏิบัติทางเพศ ญี่ปุ่น แอฟริกาใต้
การออกกฎหมายสิทธิมนุษยชนของประเทศ แคนาดา ฟิจิ นิวซีแลนด์
กฎหมายเกี่ยวกับสภาพการทำงานที่ปลอดภัย เนเธอร์แลนด์
 
• ในปี 2549 คณะกรรมการโอกาสการทำงานที่เท่าเทียมกันหรือ Equal Employment Opportunity Commission (EEOC) ของสหรัฐอเมริกาได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศในที่ทำงาน 12,025 เรื่อง ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวภายในเวลาเพียง 5 ปี และร้อยละ 15.4 เป็นเรื่องร้องเรียนของผู้ชาย EEOC ตัดสินคดีแล้ว 11,936 คดี และเรียกค่าชดเชยจำนวน 48.8 ล้านเหรียญจากบริษัทของ ผู้ร้องเรียน เงินจำนวนนี้ยังไม่รวมผลประโยชน์ต่างๆ ที่ได้รับจากการดำเนินคดี
• กองทัพบกสหรัฐทำการศึกษาเมื่อปี 2542 และพบว่าคดีการคุกคามทางเพศที่เกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่ (ทั้งชายและหญิง) ของกองทัพบกทำให้เกิดความเสียหายคิดเป็นเงิน 250 ล้านเหรียญ การศึกษานี้รวมความเสียหายที่เกิดจากการเสียความสามารถในการผลิต การขาดงาน การแบ่งแยก การหาเจ้าหน้าที่แทนและอื่นๆ ด้วย
• ในปี 2547 หญิงคนหนึ่งซึ่งทำงานเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยในประเทศแอฟริกาใต้ชนะคดีการคุกคามทางเพศที่สำคัญคดีหนึ่ง ถือเป็นครั้งแรกที่นายจ้างต้องรับผิดจากการคุกคามทางเพศอันเนื่องด้วยการดำเนินคดีโดยลูกจ้างคนหนึ่งของเขา บริษัทได้รับคำสั่งให้จ่ายค่าชดเชยแก่ผู้เสียหายซึ่งถูกคุกคามทางเพศและถูกปลดจากงานอย่างไม่เป็นธรรม
• ในอินเดียคดีความสำคัญระหว่างวิสาขะกับรัฐราชสถานทำให้ศาลฎีกาเปลี่ยนคำนิยามตามกฎหมายของการคุกคามทางเพศ แต่ก่อนการคุกคามทางเพศถือเป็นการ “เย้าแหย่” ศาลนิยามการคุกคามทางเพศเสียใหม่ว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของสตรี นอกจากนี้ศาลยังให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีป้องกันและการแก้ปัญหาด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น