หลักสูตร สถาบันสอนภาษา Lingo

วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2554

มาทำความรู้จักกับ แร่ธาตุสังกะสี (Zinc)


 
หลายๆคนอาจเคยได้ยินธาตุชนิดนี้มาบ้าง แต่ทราบหรือไม่ว่า  แร่ธาตุสังกะสี เป็นธาตุที่จำเป็นต้อรางกายมากๆ   กว่า 90% มีอยู่ในกระดูกและกล้ามเนื้อ ซึ่งถือเป็นราฐานของร่างกายเรา



แร่ธาตุสังกะสี (Zinc) กับการลดภาวะความเครียด

เกลือแร่หรือแร่ ธาตุนั้นเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายรองจาก น้ำ ไขมัน และโปรตีน ซึ่งแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับองค์ประกอบที่ดีของชีวิตแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

1. แร่ธาตุปริมาณมาก (Macro Minerals) ที่ร่างกายต้องการมากกว่า 100 มิลลิกรัมต่อวัน เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม เป็นต้น
2. แร่ธาตุปริมาณน้อย (Trace Minerals) โดยแร่ธาตุกลุ่มนี้ร่างกายต้องการเพียงเล็กน้อย แต่ไม่สามารถขาดได้เลย เพราะมีความสำคัญต่อการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย  ถ้าขาดร่างกายก็จะผิดปกติไป ทั้งๆ ที่ปริมาณที่จำเป็นต่อสุขภาพต่อวันมีจำนวนเล็กน้อยเท่านั้นเอง
สังกะสี จัดเป็นแร่ธาตุในกลุ่มแร่ธาตุปริมาณน้อย (Trace Minerals)หรือ 

ชื่อภาษาอังกฤษว่า ซิงค์ (Zinc, Zn)

ประมาณ 90% ของสังกะสี อยู่ที่กระดูก-กล้ามเนื้อ และประมาณ 10% อยู่ที่ตับอ่อน-ตับ-เลือด ในคนปกติจะขับถ่ายสังกะสีออกทางอุจจาระประมาณวันละ 300 – 600 ไมโครกรัม


ประโยชน์ของสังกะสี
 


สังกะสีเหมือน กับแร่ธาตุ และวิตามินอื่นๆ คือ เป็นสารอาหารที่ไม่ให้พลังงาน แต่เป็นตัวควบคุมการทำงานของร่างกาย มีบทบาทสำคัญในการสังเคราะห์กรดนิวคลิอิก และโปรตีนเอนไซม์ในร่างกายมากกว่า 100 ชนิด ที่เป็นสารสำคัญในการเกิดปฏิกิริยาภายในร่างกายเกือบทุกชนิด  ถ้าร่างกายได้รับปริมาณสังกะสีที่เหมาะสมเพียงพอแล้ว นอกจากไม่ต้องเผชิญกับอาการขาดธาตุสังกะสีดังกล่าวแล้ว กลับเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของเราอย่างมากมายด้วย 
ดังนั้นสังกะสี จึงมีความสำคัญต่อการทำงานของทุกอวัยวะในร่างกายเรา โดยอาจสรุปได้ดังต่อไปนี้

สังกะสี เป็น ส่วนหนึ่งซึ่งเป็นสารต้านปฏิกิริยาอ๊อกซิเดชั่น (Potent Antioxidants) ทำให้ลดภาวะความเครียดในร่างกาย  และใช้ในขบวนการสร้างพลังงาน รวมถึงช่วยปรับปรุงการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยเฉพาะควบคุมการทำงานของเม็ดเลือดขาวชนิด ที-ลิมโฟไซต์ (T-lymphocyte) ให้ทำงานป้องกันเชื้อโรคแปลกปลอมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

  

ผลการวิจัยล่าสุดของการเสริมสังกะสีในโรคต่างๆ


การเสริมสังกะสีที่มีประสิทธิภาพในการลดอุบัติการณ์ของการติดเชื้อในเด็ก-ผู้สูงอายุ, ลดการตาบอดได้ 25% จาก จอประสาทตาเสื่อม (Age related macular degeneration : AMD) ใน ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยที่มีภาวะ Sickle cell disease (SCD), การรักษาโรคอุจจาระร่วงของเด็ก, โรคไวรัสตับอักเสบ C เรื้อรัง, shigellosis, โรคเรื้อน, วัณโรค, โรคปอดบวม,  leishmaniasis, ติดเชื้อทางเดินทางเดินหายใจเฉียบพลัน, โรคหวัด จากประสิทธิภาพในการลด Oxidative Stress และสารสื่ออักเสบ เช่น TNF-alpha และ IL-1beta


 ปริมาณความต้องการสังกะสี

ในกระบวนการทำ งานเกือบทุกระบบในร่างกายล้วนแต่ต้องการสังกะสีช่วยในการทำงานทั้งนั้น สังกะสีจึงเป็นสิ่งที่ร่างกายต้องการไม่สามารถขาดได้เลย โดยปริมาณความต้อง การสังกะสีของแต่ละคนจะแตกต่างกันตามเพศ วัย และภาวะของร่างกาย ซึ่งประเทศสหรัฐอเมริกาได้ทำการวิจัย และกำหนดความต้องการสังกะสี (Zinc) ปกติของมนุษย์ไว้ตามตารางข้างล่างนี้


 ปริมาณสังกะสีที่แนะนำให้รับประทานในแต่ละวัน (Daily RDAs For Zinc) สำหรับคนไทย

อายุ ปริมาณที่แนะนำต่อวัน(mg)
น้อยกว่า 1 ปี 3
1 –10 ปี 2-4
11 ปีขึ้นไป 5-13
หญิงตั้งครรภ์ มากกว่า 2
หญิงให้นมบุตร มากกว่า 1

 แหล่งของสังกะสี

อาหารที่บริโภค มิลลิกรัม/100 กรัม
เนื้อ สัตว์ อาหารทะเล 1.5 – 4
หอยนางรม 75
ตับ 4 – 7
ไข่แดง 1.5
น้ำ นมวัว 0.4
น้ำนมแม่ 0.1 – 0.4
ธัญพืช 0.4 – 1
 ถั่ว
0.6 – 3





           ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถสังเคราะห์ สังกะสีขึ้นเองได้ จำเป็นต้องบริโภคจากอาหาร ซึ่งแหล่งสังกะสีธรรมชาติที่มีปริมาณสูง ได้แก่ เนื้อสัตว์ ตับ อาหารทะเลโดยเฉพาะหอยนางรม ซึ่งเป็นแหล่งสังกะสีที่ดี เพราะดูดซึมง่ายกว่าพวกพืชผัก โดยมีการวิจัยพบว่าอาหารจำพวกเนื้อเมื่อถูกย่อยเป็นกรดอะมิโน จะมีส่วนช่วยให้ร่างกายดูดซึมสังกะสีได้ดีขึ้น โดยธัญพืชประเภท ข้าว ข้าวโพด มีสังกะสีอยู่ปริมาณน้อย ส่วนผัก ผลไม้แทบไม่มีปริมาณ สังกะสี อยู่เลย
1. การมีโภชนาการที่ดีรับประทานอาหารไขมันต่ำ กากใยอาหารสูง คาร์โบไฮเดรตประเภทไม่ขัดสี ผัก ผลไม้ ธัญพืช และถั่วต่างๆ เป็นหลัก ซึ่งอุดมไปด้วยวิตามิน และแร่ธาตุสูงจากพืช และลดน้ำตาล และอาหารที่ผ่านกระบวนการขัดสี เลือกอาหารผลิตภัณฑ์นมที่มีไขมันต่ำหรือขาดไขมัน วันละ 2-3 แก้ว เนื้อสัตว์ไม่ติดหนังติดมัน ปลา และดื่มน้ำวันละ 8-10 แก้ว
2. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
3. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 6-7 ชั่วโมง
4. หลีกเลี่ยงกาเฟอีน และบุหรี่ ซึ่งทำให้เกิดอนุมูลอิสระเพิ่มขึ้นในร่างกายจะช่วยให้ร่างกาย รับมือกับความเครียดได้ดีขึ้น
โดยในการบริโภค อาหารประจำวัน เราควรเลือกรับประทานอาหารที่ให้ปริมาณสังกะสี เพียงพอต่อร่างกายในแต่ละวัน อย่างไรก็ตามในการดำเนินชีวิตประจำวันปกติของเราทุกวันนี้ ยังมีปัจจัยหลายประการที่ทำให้ร่างกายได้รับปริมาณสังกะสีไม่เพียงพอได้ตลอด เวลา ปัจจัยดังกล่าว ได้แก่
การจะช่วยให้ร่างกายรับมือกับความเครียดในชีวิตประจำวันได้ดีขึ้นนั้น จะต้องดูแลตนเองดังนี้
. การรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้อง เช่น อาหารที่มีปริมาณสังกะสีต่ำ, อาหารที่มีแร่ธาตุทองแดง (Copper) มากเกินไป, พวกไฟเบอร์, ไฟเตต (Phytates), แอลกอฮอล์ (Alcohol), ฟอสเฟต (Phosphate) เพราะสารเหล่านี้จะไปลดการดูดซึมสังกะสีผ่านผนังลำไส้ของคนเราได้
2. อายุที่มากขึ้น (Aging) ประสิทธิภาพการดูดซึมสังกะสีลดลง
3. การรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดเป็นเวลานาน ทำให้ขาดธาตุสังกะสีได้
4. ภาวะโรคต่างๆ ที่ต้องการแร่ธาตุสังกะสีเป็นพิเศษ เช่น การติดเชื้อเรื้อรัง (Chronic infections) พิษสุราเรื้อรัง (Alcoholism) ผิวหนังอักเสบ (Psoriasis) ตับแข็ง (Cirrhosis)
5. โรคพันธุกรรมที่ทำให้การดูดซึมสังกะสีไม่ดีพบในเด็กเล็ก เรียกว่า Acrodermatitis Enteropathica (โรคผิวหนังอักเสบ และผิดปกติทางจิตใจ)




อาการขาดสังกะสี 


ถ้าร่างกายมีอาการขาดแร่ธาตุสังกะสีเป็นเวลานานจะเป็นผลให้เกิดอาการต่างๆ มากมาย ดังนี้
1. การเจริญเติบโตในเด็กล่าช้า ตัวเล็ก แคระแกรน หรือหยุดชะงักเป็นหนุ่มเป็นสาว



2. ผิวหนังมีการอักเสบ โดยระยะแรกจะเป็นรอบปาก และอวัยวะเพศ ต่อมาจะลามไปที่แขนและขา เริ่มแรกอาจเป็นแค่ผื่นแดง ต่อมาจะมีลักษณะเป็นเม็ดพุพอง
3. ระบบทางเดินอาหาร ทำให้มีอาการเบื่ออาหาร การรู้รสลดน้อยลง


4. ระบบประสาท อาจมีอาการซึมเศร้า หงุดหงิด ขาดสมาธิ เหม่อลอย
และมีอาการตาบอดแสงได้


5. ระบบต่อมไร้ท่อ คือ ทำให้อวัยวะเพศเด็กเล็ก ไม่โตขึ้นตามวัย


                                         6. มีอาการผมร่วง แตกปลาย เล็บเปราะ ผิวแห้ง





โทษของการได้รับสังกะสีมากเกินไป  
 จะก่อให้เกิดอาการต่างๆ ดังนี้

1. ภูมิคุ้มกันร่างกายเสื่อม และสังกะสี ยังขัดขวางไม่ให้ร่างกายใช้ธาตุทองแดงได้เต็มที่เป็นผลให้ระดับทองแดงใน เลือดต่ำ ทำให้เกิดอาการซีด เม็ดเลือดขาวต่ำ
2. โดยถ้าร่างกายได้รับสังกะสีเกินกว่า 2 กรัมขึ้นไป จะเกิดอาการระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหารแบบเฉียบพลัน ทำให้ปวดท้อง และอาเจียนได้
3. ในกรณีที่บริโภคมากกว่าวันละ 100 มก. เป็นเวลานานจะทำให้ระดับไขมัน HDL (High-density lipoprotein) ซึ่งเป็นไขมันดีลดลง

Thank: sirinpharmacy






"เพราะ สุขภาพดีไม่มีขาย"


                                                                       Lingo Team! 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น